ค้นเจอ 219 รายการ

ดาบเงิน

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Trichiuridae ได้แก่ ชนิด Trichiurus lepturus ซึ่งชุกชุมที่สุด ชนิด Tentoriceps cristatus, Eupleurogrammus muticus และ Lepturacanthus savala ทุกชนิดมีลักษณะคล้ายกันมาก คือมีหัวแหลมลาดตํ่าไปข้างหน้า ปลายปากล่างยื่นฟันคมแข็งแรง ตัวยาวมาก แบนข้าง เรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหาง ครีบหลังยาวเกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็นเพียงแถวของหนามแข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้อง ไม่มีครีบท้องหรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังสีเงินหรือเทา, ดาบ ก็เรียก.

กัด

หมายถึงก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสียจนไม่มีชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้หมดไปสิ้นไป เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทำให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือจับปลาทะเลชนิดอวน.

น้ำดอกไม้

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าเทา เช่น ชนิด S. forsteri หรือนํ้าตาลอมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata บ้างมีบั้งทอดขวางลำตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello และ S. putnamiae บ้างก็มีจุดหรือแต้มดำ เช่น ชนิด S. barracuda ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๐-๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก.

จิ้งหรีด

หมายถึงน. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllidae ลำตัวขนาดปานกลาง หนวดยาว มีปีก ๒ คู่ คู่หน้าเนื้อปีกหนากว่าคู่หลัง ปีกเมื่อพับจะหักเป็นมุมที่ด้านข้างของลำตัว ปีกคู่หลังบางพับได้แบบพัดสอดเข้าไปอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน หัวกับอกมีขนาดกว้างไล่เลี่ยกัน ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสำหรับทำเสียงเป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ตามเส้นปีกบริเวณกลางปีก ใช้กรีดกับแผ่นทำเสียงที่อยู่บริเวณท้องปีกของปีกอีกข้างหนึ่ง มีหลายชนิด เช่น ทองดำ (Acheta bimaculatus) ทองแดง (Gryllus testaceus), จังหรีด ก็เรียก.

แถก

หมายถึงก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวง กุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลามะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาวอย่างไม่ประณีต ในคำว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้นแถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).

เบี้ย

หมายถึงน. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสำหรับซื้อขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือกของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือกของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับสตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคำว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.

มงโกรย

หมายถึงน. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด Hilsa kelee ในวงศ์ Clupeidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนมากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลำตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดำ ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ขมงโกรย หรือ ลินโกรย ก็เรียก. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tenualosa thibaudeaui ในวงศ์ Clupeidae ซึ่งพบเฉพาะในแม่นํ้าโขง ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลามงโกรย (๑) มาก แต่ลำตัวยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, หมากผาง ก็เรียก.

องค-

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

เหนียว

หมายถึง[เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียวตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขาเป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.

องค

หมายถึง[องคะ-] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

ตะกร้อ

หมายถึง[-กฺร้อ] น. ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นต้นเป็นตา ๆ สำหรับเตะ; เครื่องมือสอยผลไม้ มีด้ามยาว ทำด้วยไม้ หวาย หรือไม้ไผ่เป็นซี่ รูปป่องยาวรีคล้ายกาบปลี ตรงปากมีฟันสำหรับสอย; เครื่องสานยาชัน รูปคล้ายปุ้งกี๋ แต่เล็กกว่า ใช้วิดนํ้าเรือ, กร้อ ก็เรียก; เครื่องสานรูปทรงกระบอก สำหรับใส่ไว้ในกระถางยาดองและกะปิเป็นต้น เพื่อกั้นเนื้อ ให้แต่นํ้าซึมเข้าข้างใน; เครื่องสานมีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น สำหรับสวมปากม้าหรือปากหมาเป็นต้น; (โบ) เครื่องดับไฟสานเป็นรูปตะกร้อ พันผ้าชุบนํ้า มีด้ามยาว สำหรับดับและคลึงลูกไฟที่มาติดหลังคา ผู้ดับนั่งบนอกไก่หลังคา, กระตร้อ ก็เรียก.

องค์

หมายถึง[อง] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของกษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คำ) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนามใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ