ค้นเจอ 254 รายการ

แปรอักษร

หมายถึงก. ทำให้มีตัวอักษรหรือภาพปรากฏขึ้น โดยใช้คนจำนวนมากที่อยู่บนอัฒจันทร์ ยกกระดาษ ผ้า หรือวัสดุอื่น ๆ ขึ้นมาพร้อม ๆ กัน ให้เห็นเป็นตัวหนังสือหรือภาพ (มักใช้ประกอบในการเชียร์กีฬา การแสดงกลางแจ้ง หรือกิจกรรมสำคัญ ๆ).

พณ,ฯพณฯ

หมายถึง[พะนะท่าน] น. คำนำหน้าชื่อหรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ชั้นรัฐมนตรี เอกอัครราชทูต เป็นต้น. (ย่อมาจากคำ พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน).

หนังสือ

หมายถึงน. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคำพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมายที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสารที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.

กล้ำ

หมายถึง[กฺลํ้า] ก. ควบ เช่น กลํ้าอักษร อักษรกลํ้า, ทำให้เข้ากัน, กลืนกัน, เช่น กลํ้าเสียง เสียงกลํ้า, มีโทษอันหนึ่งไซร้ กลบกลํ้าพันคุณ. (โลกนิติ), คือดั่งปากเว้นกลํ้า แกล่เหมี้ยงหมากพลู. (โลกนิติ), กัลยาจะกลํ้าอำความตาย. (อิเหนา).

สูตร

หมายถึง[สูด] น. ชื่อหลักธรรมในพระสุตตันตปิฎก เรียกว่า พระสูตร เช่น มงคลสูตร กาลามสูตร; ข้อความทางปรัชญาที่เรียบเรียงร้อยกรอง หรือย่อขึ้นไว้สำหรับท่องจำ เช่น โยคสูตร นยายสูตร สูตรสนธิ.

โบราณ,โบราณ-

หมายถึง[โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษรโบราณ หนังสือโบราณ, เก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).

โองการ

หมายถึงน. คำศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำ, ถ้าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์มาจากพระดำรัสสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. (ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม หมายถึง พระเป็นเจ้าทั้ง ๓ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ).

บันทึก

หมายถึงก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือถ่ายทำไว้เพื่อช่วยความจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงานการประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทำให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นำมาจดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; (กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึกคำร้องทุกข์และคำกล่าวโทษด้วย.

วรรณยุกต์,วรรณยุต

หมายถึงน. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ่ (ไม้เอก) ้ (ไม้โท) ๊ (ไม้ตรี) ๋ (ไม้จัตวา).

ไมโครฟิล์ม

หมายถึง[-โคฺรฟิม] น. ฟิล์มถ่ายรูปขนาดเล็กมากใช้สำหรับถ่ายบันทึกภาพของสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดย่อส่วนลงมาก ๆ เพื่อสะดวกแก่การเก็บรักษาไว้ และสามารถนำมาฉายเป็นภาพนิ่งขนาดขยายบนจอได้. (อ. microfilm).

เล่นหาง

หมายถึงว. เรียกลักษณะการเขียนหนังสือที่ตวัดปลายตัวอักษรให้ยาวออกเกินปรกติว่า เขียนเล่นหาง; เรียกลักษณะท่าเต้นของการเชิดสิงโตโดยม้วนตัวงับหางตัวเองว่า สิงโตเล่นหาง; อาการที่ว่าวปักเป้าติดลมสะบัดหางพลิ้วไปมา.

กระจายนะมณฑล

หมายถึง(โบ) น. ชื่อกลบท วรรคต้นใช้อักษรสูงนำหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรตํ่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กำจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา. (ชุมนุมตำรากลอน)

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ