ค้นเจอ 357 รายการ

สุภาพชน

หมายถึงน. ผู้ที่แต่งกายเรียบร้อย, ผู้ที่มีกิริยามารยาทอ่อนโยน พูดจาเรียบร้อย รู้กาลเทศะ, เช่น สุภาพชนย่อมไม่ส่งเสียงดังในห้องสมุด.

ก็ดี

หมายถึงนิ. แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ หรือเน้นความให้มีนํ้าหนักเท่ากัน เช่น บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตร ยานี้กินก็ได้ ทาก็ได้.

มีดชายธง

หมายถึงน. มีดขนาดย่อม ใบมีดเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ.

โปงลาง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อนไม้กลมผูกร้อยเรียงกันตามลำดับขนาดและลำดับเสียงเช่นเดียวกับระนาด แต่มีขนาดใหญ่กว่า.

เกริ่น

หมายถึง[เกฺริ่น] (ถิ่น-จันทบุรี) น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้เป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก.

แขวนคอ

หมายถึงก. เอาเชือกหรือผ้าเป็นต้นผูกคอห้อยไว้บนที่สูงเช่นบนต้นไม้ ไม่ให้เท้าถึงพื้นเพื่อให้ตาย เป็นการประหารชีวิตนักโทษแบบหนึ่งของชาวตะวันตกบางประเทศ.

วิ่งสามขา

หมายถึงน. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นแบ่งเป็นคู่ ๆ โดยผูกขาขวาของคนหนึ่งเข้ากับขาซ้ายของอีกคนหนึ่ง แล้ววิ่งแข่งกับคู่อื่น ๆ.

ขลาย

หมายถึง[ขฺลาย] น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ขึ้นอยู่ตามป่าตํ่าทางภาคกลางของไทย ไม้ใช้ทำฟืนกันมาก เช่น คุดคุยขลู่ขลาย. (สมุทรโฆษ).

เสาทุบเปลือก

หมายถึงน. เสาไม้เนื้ออ่อนลำขนาดย่อม ซึ่งทุบแล้วลอกเอาเปลือกออก แต่ไม่ได้ถากแต่ง ใช้ทำเสาเข็ม เสารั้ว เป็นต้น.

เข้าเครื่อง

หมายถึงก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสำคัญ ๆ; คำพูดสำหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้าตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียงเข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.

อังกา

หมายถึงน. ตัวอักษรที่จารไว้หัวลานสำหรับบอกจำนวนใบลานที่จารแล้ว ๑๒ ตัวเป็น ๑ อังกา และ ๒ อังกา เป็น ๑ ผูก.

ชงโลง

หมายถึงน. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น-อีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ