ค้นเจอ 325 รายการ

กรรมวิธี

หมายถึง[กำมะวิที] น. ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทำขึ้น อันดำเนินติดต่อกันเรื่อยไปเป็นลำดับ, กระบวนวิธีดำเนินการในประดิษฐกรรม.

ขัน

หมายถึงก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่.

ปลดออก

หมายถึง(กฎ) น. โทษทางวินัยสถานหนึ่ง ที่ใช้ลงแก่ข้าราชการผู้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยสั่งให้ออกจากราชการ ผู้ถูกลงโทษปลดออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนว่าผู้นั้นลาออก.

กรมท่า

หมายถึง[กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัดกรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า. ว. สีขาบ, สีนํ้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.

คอคอด

หมายถึงน. แผ่นดินที่กิ่วคอดและมีน้ำล้อมรอบอยู่ทั้ง ๒ ด้าน ตรงที่กิ่วคอดจะเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่ ๒ แห่ง หรือเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่กับแหลมให้ติดต่อถึงกันได้ เช่น คอคอดกระ.

ไข้หวัดใหญ่

หมายถึงน. โรคติดต่อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยมีไข้สูงมาก มีอาการหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย. (อ. influenza).

เวียดนาม

หมายถึงน. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับเขมร ลาว และจีน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติเวียด, เรียกเต็มว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม.

โขลน

หมายถึง[โขฺลน] (โบ) น. ชื่อกรมซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพระราชฐานชั้นใน, เจ้าพนักงานหญิงในกรมโขลน มีหน้าที่คล้ายตำรวจ; ตำแหน่งราชการฝ่ายทหาร. (จารึกสยาม).

โฉนด

หมายถึง[ฉะโหฺนด] น. หนังสือสำคัญของทางราชการแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน, ก่อนนี้ถ้าเป็นสวนปลูกไม้ยืนต้น เรียกว่า โฉนดสวน, ถ้าเป็นสวนไม้ล้มลุก เรียกว่า โฉนดป่า, เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ เริ่มออกโฉนดแบบใหม่โดยวิธีรังวัดปักหลักเขตลงในที่ดินด้วยหมุดหลักฐานการแผนที่ และแสดงรูปแผนที่ที่ดินนั้นลงไว้ในโฉนดด้วย เรียกว่า โฉนดแผนที่; หนังสือ เช่น ออกโฉนดบาดหมายให้แก่ราชการ. (บรมราชาธิบาย ร. ๔).

คำร้อง

หมายถึง(กฎ) น. (๑) คำขอที่ยื่นต่อทางราชการ เพื่อให้ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ร้อง. (๒) คำขอที่คู่ความยื่นต่อศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง, คำร้องขอ ก็ว่า. (อ. request).

ทำเนียบนาม

หมายถึงน. นามต่าง ๆ ที่พระมหากษัตริย์โปรดให้ขนานเป็นทำเนียบไว้ เช่น นามพระราชวัง นามพระที่นั่ง นามประตู นามป้อม ตลอดจนถึงนามที่ทางราชการเรียก.

เจ้าสังกัด

หมายถึงน. ส่วนราชการที่หน่วยงานย่อยหรือหน่วยงานอื่นสังกัดอยู่ เช่น กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าสังกัดของกรมสามัญศึกษา สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเจ้าสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ