ค้นเจอ 331 รายการ

ตจปัญจกกรรมฐาน

หมายถึง[ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).

ทศกัณฐ์

หมายถึงน. “ผู้มีสิบคอ” คือ ท้าวราพณ์ในเรื่องรามเกียรติ์.

กฐิน-

หมายถึง[กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).

กนิษฐ์

หมายถึง[กะนิด] ว. “น้อยที่สุด”. (ส.; ป. กนิฏฺฐ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภคินี หมายถึง น้องสาว, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐภาดา หมายถึง น้องชาย, ถ้าใช้ว่า พระกนิษฐา หมายถึง น้องสาว. (ส.; ป. กนิฏฺฐ).

กรรฐา

หมายถึง[กันถา] น. คอ. (เทียบ ข. กรฺฐ ว่า คอ). (เลือนมาจาก กัณฐ์).

เศรษฐ,เศรษฐ-,เศรษฐ์

หมายถึง[เสดถะ-, เสด] ว. ดีเลิศ, ดีที่สุด, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ. (ส. เศฺรษฺ; ป. เสฏฺ).

สัฐิ

หมายถึง[สัดถิ] ว. หกสิบ. (ป. สฏฺิ; ส. ษษฺฏิ).

สัณฐาน

หมายถึงน. รูปทรง, ลักษณะ, เช่น ป้อมปราการมีสัณฐานแปดเหลี่ยม โลกมีสัณฐานกลมอย่างผลส้ม. (ป.; ส. สํสฺถาน).

สันทิฐิก,สันทิฐิก-

หมายถึง[สันทิดถิกะ-] (แบบ) ว. ควรเห็นเอง, เป็นคุณของพระธรรมอย่างหนึ่ง. (ป. สนฺทิฏฺิก; ส. สานฺทฺฤษฺฏิก).

สัมมาทิฐิ

หมายถึงน. ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว. (ป. สมฺมาทิฏฺิ).

หลักฐาน

หมายถึงน. พื้นเพมั่นคง เช่น พ่อแม่เขาเป็นคนมีหลักฐาน, ความมั่นคงอันเป็นพื้นที่ตั้ง เช่น เขามีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน; เครื่องแสดงประกอบเพื่อยืนยัน เช่น เขาถูกกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน; (กฎ) สิ่งที่ใช้พิสูจน์ความถูกต้องหรือความจริง. (อ. evidence).

หัฏฐะ

หมายถึง[หัดถะ] ว. ร่าเริง, ยินดี, สบายใจ. (ป.; ส. หฺฤษฺฏ).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ