ค้นเจอ 6,958 รายการ

วา

หมายถึงน. มาตราวัดตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๔ ศอก มีอัตราเท่ากับ ๒ เมตร, อักษรย่อว่า ว. ก. กิริยาที่กางแขนเหยียดตรงออกทั้ง ๒ ข้าง.

ว่า

หมายถึงก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยงไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธานเชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. (ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง.

วากจิรพัสตร์

หมายถึงน. ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้, ผ้าป่าน. (ป. วากจิร ว่า ที่ทำด้วยเปลือกไม้ + ส. วสฺตฺร ว่า ผ้า).

ว่าการ

หมายถึงก. ดูแลตรวจตราสั่งการงาน.

วางตลาด

หมายถึงก. นำสินค้าออกวางขายตามร้านทั่วไป.

วางท่า

หมายถึงก. ทำท่าไว้ยศ เช่น วางท่าเป็นอธิบดี, วางปุ่ม ก็ว่า.

วางปุ่ม

หมายถึงก. ทำท่าไว้ยศ, วางท่า ก็ว่า.

วางเพลิง

หมายถึง[-เพฺลิง] ก. จุดไฟเผาอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์สมบัติ; โดยปริยายหมายความว่าให้ร้ายคนอื่น.

วางวาย

หมายถึงก. ตาย เช่น นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์. (กฤษณา), วายวาง ก็ว่า.

วาจก

หมายถึงน. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นผู้ทำ ผู้ใช้ ผู้ถูกทำ หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจก และการิตวาจก. (ป., ส.).

วาดเขียน

หมายถึงน. วิชาว่าด้วยการเขียนรูปภาพต่าง ๆ.

ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง

หมายถึง(สำ) ก. ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำในเรื่องนั้นเสียเอง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ