ค้นเจอ 230 รายการ

สมจริง

หมายถึงว. ควรถือได้ว่าเป็นจริง, คล้ายกับที่เป็นจริง, เช่น เขาแสดงบทบาทในละครได้อย่างสมจริง; ตามความเป็นจริง เช่น เขาทำได้สมจริงอย่างที่พูดไว้; (วรรณ) เหมือนจริงแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เช่น นวนิยายสมจริง เรื่องสมจริง.

โลดโผน

หมายถึงว. แปลกผิดธรรมดา เช่น สำนวนโลดโผน, ผาดโผนน่าหวาดเสียวต่ออันตราย เช่น ขับรถโลดโผน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ โจนทะยาน เป็น โลดโผนโจนทะยาน หมายความว่า ผาดแผลงอย่างน่าหวาดเสียวต่ออันตราย เช่น เด็กซน ๆ ชอบเล่นโลดโผนโจนทะยาน.

มโนมัย

หมายถึงว. สำเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (กลอน) น. ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูกมโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).

แต่งหน้า

หมายถึงก. ใช้เครื่องสำอางเสริมแต่งใบหน้าให้สวยขึ้น, ใช้เครื่องสำอางเสริมแต่งใบหน้าให้มีลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับบทบาทในการแสดงละครเป็นต้น, ผ่าตัดตกแต่งใบหน้าให้ดูสวยหรือดูหนุ่มสาวขึ้น.

กลม

หมายถึง[กฺลม] น. ชื่อเพลงไทยของเก่าที่ใช้เครื่องปี่พาทย์ทำตอนตัวละครรำออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตัวคนเดียว จะเหาะหรือเดินก็ได้, และใช้เป็นเพลงประจำกัณฑ์สักบรรพในเวลามีเทศน์มหาชาติ.

กินนรรำ

หมายถึงน. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.

ละครยก

หมายถึงน. เครื่องสังเวยพระภูมิหรือแก้บน ทำเป็นแท่นยกขนาดเล็ก มีเสา ๔ มุม ดาดเพดานด้วยกระดาษ มีตุ๊กตาดินปั้นทาฝุ่นเขียนสีสมมุติเป็นตัวละคร ๓-๕ ตัวเสียบไว้บนแท่นนั้น.

เสื่อผืนหมอนใบ

หมายถึงน. สำนวนที่เนื่องมาจากการที่คนจีนจากเมืองจีนเดินทางโดยเรือสำเภาเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย โดยไม่มีทรัพย์สมบัติหรือข้าวของติดตัวมานอกจากเสื่อกับหมอนเท่านั้นแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้; โดยปริยายหมายถึงมีสมบัติติดตัวเพียงเล็กน้อย แต่มีวิริยอุตสาหะแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้.

จ๊อก

หมายถึงว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสำนวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใดร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้; เสียงท้องร้องเวลาหิว, จ๊อก ๆ ก็ว่า.

ฉบับ

หมายถึง[ฉะ-] น. หนังสือเรื่องเดียวกันซึ่งมีข้อความหรือสำนวนแตกต่างกันเป็นต้น เช่น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ต้นเดิมของหนังสือที่พิมพ์หรือเขียน เรียกว่า ต้นฉบับ; ลักษณนามเรียกหนังสือเล่มหรือหนังสือเป็นแผ่นที่ถือว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ เช่น จดหมาย ๓ ฉบับ สลากกินแบ่ง ๕ ฉบับ หนังสือสัญญา ๒ ฉบับ. (ข. จฺบาบ่).

เสนอ

หมายถึง[สะเหฺนอ] ก. ยื่นเรื่องราว ความเห็น ญัตติ เป็นต้น เพื่อให้ทราบ ให้พิจารณา หรือให้สั่งการ เช่น เสนอรายงานการเดินทางให้ผู้บังคับบัญชาทราบ เสนอโครงการให้พิจารณา เสนอบันทึกความเห็นเพื่อพิจารณาสั่งการ ลูก ๆ เสนอให้ไปพักผ่อนชายทะเล, แสดงให้เห็น เช่น เสนอตัวอย่างสินค้า เสนอละครเรื่องใหม่.

รัดเกล้า

หมายถึงน. เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสำนักแต่โบราณ และประดับศีรษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ มี ๒ แบบ คือ รัดเกล้ายอด มีปลายยอดทรงกรวยแหลม สำหรับกษัตรี และรัดเกล้าเปลว มียอดปักช่อกระหนกเปลว สำหรับพระสนม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ