ค้นเจอ 250 รายการ

ใบ้

หมายถึงว. ไม่สามารถจะพูดเป็นถ้อยคำที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจได้, โดยปริยายหมายความว่า นิ่งไม่พูด เช่น นั่งเป็นใบ้. ก. แสดงกิริยาท่าทางแทนถ้อยคำ เช่น ภาษาใบ้; แนะด้วยอุบาย เช่น บอกใบ้, บอกเลศนัย เช่น ใบ้หวย.

แก๊ง เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

แก๊งค์, แก๊งก์ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

สนทนา

หมายถึง[สนทะ-] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).

กำมะลอ

หมายถึงน. เรียกของลงรักแบบญี่ปุ่นและจีน เช่นหีบ โอ กระบะ ว่า เครื่องกำมะลอ, เรียกไม้ดัดชนิดหนึ่งที่ดัดให้เหมือนรูปต้นไม้ที่ญี่ปุ่นและจีนเขียนลงในเครื่องกำมะลอว่า ไม้กำมะลอ; เรียกกลดที่ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูปว่า กลดกำมะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่องกำมะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือ ลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาวหรือแพรขาวว่า ลายกำมะลอ; เรียกของทำเทียมหรือของเล็กน้อยที่ทำหยาบ ๆ ไม่ทนทานว่า ของกำมะลอ. ว. เลวไม่ทนทาน, ไม่ดี, ไม่งาม.

หนังสือเวียน

หมายถึงน. หนังสือราชการที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง, ภาษาปากใช้ว่า จดหมายเวียน; หนังสือที่ผู้บังคับบัญชาเวียนแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบหรือถือปฏิบัติ.

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

วรรณยุกต์,วรรณยุต

หมายถึงน. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ่ (ไม้เอก) ้ (ไม้โท) ๊ (ไม้ตรี) ๋ (ไม้จัตวา).

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

นกเขา

หมายถึงน. ชื่อเหยี่ยวในวงศ์ Accipitridae สีเทานํ้าตาลมีลายตลอดตัว อกสีนํ้าตาลลายกระขาว มักเกาะซ่อนตัวบนต้นไม้เพื่อคอยโฉบล่าเหยื่อ อยู่ตามลำพัง มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวนกเขาหงอน (Accipiter trivirgatus) เหยี่ยวนกเขาชิครา (A. badius) เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น (A. gularis).

ทมิฬ

หมายถึง[ทะมิน] น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดียแถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. ว. ดุร้าย, ร้ายกาจ, เช่น ใจทมิฬ ยุคทมิฬ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ. (ป.).

นอต เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

น็อต, น๊อต เป็นคำที่เขียนผิด ❌

ลูกทุ่ง

หมายถึงน. ลูกป่า; ผู้ที่ทำมาหากินอยู่ตามท้องทุ่ง; ลูกสัตว์ที่เกิดในท้องทุ่ง; เรียกเหล้าเถื่อนว่า เหล้าลูกทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นิยายลูกทุ่ง ภาษาลูกทุ่ง. ว. เรียกเพลงชนิดที่คนในชนบทนิยมว่า เพลงลูกทุ่ง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ