ค้นเจอ 210 รายการ

กระบอก

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้ากร่อยและทะเลในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ (L. vaigiensis) กระบอกดำ (L. parsia) กระบอกขาว (V. seheli), กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก ยมก หรือ มก.

เก้ง

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องในวงศ์ Cervidae ตัวเล็ก ขนสีนํ้าตาลจนถึงนํ้าตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปคือ อีเก้ง หรือ ฟาน (Muntiacus muntjak) อีกชนิดหนึ่งคือ เก้งหม้อ หรือ เก้งดำ (M. feae) ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีนํ้าตาลแก่เกือบดำ ที่หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ, ปักษ์ใต้เรียก กวางจุก.

แก้มช้ำ

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius orphoides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยชํ้า สุดแผ่นปิดเหงือกดำ โคนครีบหางมีจุดสีดำ พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดำ มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.

กะลุมพี

หมายถึงน. ชื่อปาล์มชนิด Eleiodoxa conferta (Griff.) Burr. ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอในป่าพรุและที่ชื้นแฉะทางภาคใต้ ผลเป็นช่อใหญ่และแน่น ปลายผลตัด ผิวเหลืองเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีหนาม เยื่อหุ้มเมล็ดขาว รสเปรี้ยว ๆ ฝาด ๆ กินได้ ยางในลำต้นเหนียวใช้ติดกระดาษแทนกาวได้, ลุมพี ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก หลุมพี. (มลายู ว่า กะลุมปี).

กะลา

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นคล้ายข่า สูง ๓-๔ เมตร ช่อดอกคล้ายบัวตูมแต่กลีบแข็ง สีชมพูหรือแดง มีดอกเล็ก ๆ แน่นเป็นกระจุกอยู่ภายใน ก้านช่อดอกผุดขึ้นจากดินและยาวได้ถึง ๑ เมตร หน่อและดอกอ่อนใช้เป็นอาหาร, กาหลา ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ปุดกะลา.

เตียว

หมายถึงน. ลิงจำพวกหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้ผ้าตะบิดโพกศีรษะ เรียกว่า เตียวเพชร; เรียกหนังที่สลักเป็นรูปลิงขาวมัดลิงดำมาหาฤๅษี. (ลัทธิ); ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (รามเกียรติ์ ร. ๑); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เสวียน. ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น, เช่น เตียวแขนมันไพล่หลัง. (พระราชนิพนธ์พระร่วง แบบเรียน).

หยี

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Dialium วงศ์ Leguminosae ผลมีเมล็ดเดียว เมื่อแก่เปลือกกรอบสีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดสีนํ้าตาล รสเปรี้ยวอมหวาน คือ ชนิด D. indum L. ลูกหยีที่เป็นของกินเล่นส่วนใหญ่เป็นผลของต้นนี้, หยีท้องบึ้ง (D. platysepalum Backer), และชนิด D. cochinchinense L. ชนิดหลังนี้ เขลง ก็เรียก, อีสานเรียก นางดำ.

เปล้า

หมายถึง[เปฺล้า] น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขาและนกพิราบ ลำตัวสีเขียวเห็นได้ชัด แต่ละชนิดแตกต่างกันตรงสีที่หน้าอกและไหล่ซึ่งอาจมีสีม่วงหรือนํ้าตาล กินผลไม้ หากินเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น ชนิด Treron curvirostra ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เปล้าขาเหลือง (T. phoenicoptera) เปล้าคอสีม่วง (T. vernans) เปล้าใหญ่ปักษ์ใต้ (T. capellei), เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า.

บัวบก

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centella asiatica (L.) Urban ในวงศ์ Umbelliferae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยวกลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบและต้นกินได้และใช้ทำยาได้, พายัพและอีสานเรียก ผักหนอก, ปักษ์ใต้และตราดเรียก ผักแว่น. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Stephania pierrei Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลายแหลม ใช้ทำยาได้.

อีเห็น

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับชะมดและพังพอน ลำตัวเรียวยาว ขาสั้น หางยาว ปากแหลมยาว ออกหากินในเวลากลางคืน มีต่อมกลิ่นที่ก้นทำให้ตัวมีกลิ่นแรง กินสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น อีเห็นลายจุด (Paradoxurus hermaphroditus) อีเห็นหน้าขาว (Paguma larvata) อีเห็นหูขาว (Arctogalidia trivirgata), ปักษ์ใต้เรียก มดสัง หรือ มูสัง, ในบทประพันธ์ ใช้ว่า กระเห็น ก็มี เช่น กระเห็นเห็นกันแล้ววิ่งมา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

ก้อน

หมายถึงน. คำบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กำหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กำหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จำนวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).

กระทุ

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่ หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ