ค้นเจอ 723 รายการ

จอบ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. แอบ, ลอบ, คอยฟัง; (ถิ่น-พายัพ) ล่อ, เล้าโลม, ชักชวน.

จั๊กกิ้ม

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. จิ้งจก. (ดู จิ้งจก).

จี๋

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ว. ตูม.

จี่ป่ม

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. จิ้งโกร่ง. (ดู จิ้งโกร่ง).

โชงโลง

หมายถึงน. เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, ชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น-อีสาน) กะโซ้.

ซ่อน

หมายถึง(ถิ่น) ก. ช้อน, ต้อน, ใช้เฝือกกั้นลำนํ้าเพื่อจับปลา.

ซั้ว

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง มักต้มผักหลายชนิดให้สุกก่อนแล้วจึงนำมาหั่นหรือฉีกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อต้มใหม่พร้อมกับเครื่องปรุงประสมปลาร้า เช่น ซั้วไก่ ซั้วกบ.

ญิบ

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ว. สอง เช่น ญิบพัน ว่า สองพัน, หญิบ ก็ใช้.

แดก

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เรียกปลาที่หมักใส่เกลือโขลกปนกับรำแล้วยัดใส่ไหว่า ปลาแดก, ปลาร้า.

ติง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ก. ขยับเขยื้อน, ไหว.

เตยเลื้อย

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นเปียะ. (ดู เปียะ ๑).

เตี่ยว

หมายถึงน. ผ้าชิ้นน้อยยาวสำหรับคาดปากหม้อกันไม่ให้ไอร้อนออกเวลานึ่งของ, ผ้าขัดหนอกผู้หญิงสำหรับซับระดูหรืออยู่กระดานไฟ; ใบตองหรือใบมะพร้าวสำหรับคาดกลัดห่อขนม เช่นห่อข้าวหมาก ห่อขนมตาล; (ถิ่น-พายัพ) กางเกง. ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ