ค้นเจอ 249 รายการ

ปาฏิโภค

หมายถึง(แบบ) น. ผู้รับประกัน, นายประกัน. (ป.).

ปาฏิหาริย์

หมายถึง[-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).

โผฏฐัพธรรม

หมายถึงน. สิ่งที่รู้สึกได้ด้วยกาย, สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย.

ภฤษฏ์

หมายถึง[พฺรึด] ก. ตก, ร่วง, หล่น. [ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรํศฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ].

ภฤษฏ์

หมายถึง[พฺรึด] ก. ปิ้ง เคี่ยว หรือคั่วแล้ว. [ส. ภฺรษฺฏ (ภฺรชฺชฺ ธาตุ); ป. ภฏฺ].

มัญเชฏฐะ

หมายถึงว. สีฝาง, สีแสดแก่. (ป.; ส. มญฺชิษฺ).

กฏุก

หมายถึง[กะตุก] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).

กฏุกผล

หมายถึง[กะตุกะผน] (แบบ) น. ผลอันเผ็ดร้อน. (ชุมนุมตำรากลอน ปาราชิตฉันท์).

กุฏไต

หมายถึง(แบบ) น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น ห่มกุฏไตขอหง้า, โกตไต ก็ว่า เช่น ห่มโกตไตอวดอ้าง. (พยุหยาตรา). (เทียบอิหร่าน และ ตุรกี ว่า เสื้อกั๊กสำหรับทหาร).

กุฏิ

หมายถึง[กุด, กุดติ, กุติ] น. เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. (ป., ส.).

กุฏิ

หมายถึง[กุด] น. ที่บรรจุศพที่ก่ออิฐถือปูนเป็นหลัง ๆ; เรือนที่ทำให้นกขุนทองนอน. (เทียบทมิฬ กูฏุ ว่า รังนก).

กูฏาคาร

หมายถึง(แบบ) น. เรือนยอด. (ป., ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ