ค้นเจอ 294 รายการ

ศิลาแลง

หมายถึงน. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, หินแลง ก็เรียก.

กระด้างกระเดื่อง

หมายถึงก. แข็ง เช่น หนึ่งโสดฝุ่นทรายตรึงตรา นอนแนบหินผา กระด้างกระเดื่องทั้งตัว. (ดุษฎีสังเวย). ว. ไม่อ่อนน้อม, เอาใจออกหากไม่ยอมอ่อนน้อมอย่างเคย.

ตะไคร้หางนาค

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rotula aquatica Lour. ในวงศ์ Ehretiaceae ขึ้นเป็นกอตามซอกหินริมลำธาร กิ่งเรียวกลมเหนียวมาก.

หินแลง

หมายถึงน. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, ศิลาแลง ก็เรียก.

แป้ง

หมายถึงน. สิ่งที่เป็นผงละเอียดได้จากเมล็ดพืช ผลไม้ และรากไม้ เป็นต้น ใช้เป็นอาหาร, ผงขาว ๆ ที่ทำด้วยหินเป็นต้น สำหรับผัดหน้า.

แง่

หมายถึงน. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย.

อาน

หมายถึงก. ลับมีดหรืออาวุธให้คม เช่น อานดาบ อานอาวุธ, ใช้มีดหรืออาวุธถูกับหินให้เรียบหรือให้คม เช่น อานมีด อานหอก. (ข.).

ทับหลัง

หมายถึงน. ลวดลายที่ทำประดับไว้บนหลังตู้; ท่อนหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่สลักเป็นลวดลายต่าง ๆ ประดับอยู่เหนือประตูเข้าปราสาทหิน; เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหน้าต่างหรือประตูหลังกรอบเช็ดหน้า ใช้บังคับปลายเดือยบานแผละหน้าต่างหรือประตูว่า ทับหลังหน้าต่าง หรือ ทับหลังประตู. (ปาก) ก. อยู่ข้างล่าง (ใช้แก่การพนันเช่นไพ่ตอง).

แยงแย้

หมายถึงน. ไม้จำพวกเฟินเลื้อย ต้นเป็นเถาสั้น รากกระด้าง สีดำแดง เกาะตามหลืบหิน ใบคล้ายใบมะคำไก่. (พจน. ๒๔๙๓).

หินหนืด

หมายถึงน. หินที่อยู่ในสภาพของหนืด อยู่ลึกลงไปภายใต้เปลือกโลก เมื่อเปลือกโลกเกิดรอยร้าวจะอูดตัวแทรกซอนขึ้นมาสู่ผิวโลก และจะแข็งตัวเป็นหินอัคนีพวกต่าง ๆ.

ใบ้

หมายถึงว. ไม่สามารถจะพูดเป็นถ้อยคำที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจได้, โดยปริยายหมายความว่า นิ่งไม่พูด เช่น นั่งเป็นใบ้. ก. แสดงกิริยาท่าทางแทนถ้อยคำ เช่น ภาษาใบ้; แนะด้วยอุบาย เช่น บอกใบ้, บอกเลศนัย เช่น ใบ้หวย.

สลักเสลา

หมายถึง[-สะเหฺลา] ก. สลักให้เป็นลวดลายเรียบร้อยสวยงาม เช่น เสียเวลานั่งสลักเสลาผักครึ่งวันกว่าจะได้ลงมือทำกับข้าว สลักเสลาเสาหินเป็นลายเทพนม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ