ค้นเจอ 292 รายการ

ตาลปัตร

หมายถึง[ตาละปัด] น. พัดใบตาล มีด้ามยาว สำหรับพระใช้ในพิธีกรรมเช่นในเวลาให้ศีล ต่อมาอนุโลมเรียกพัดที่ทำด้วยผ้าหรือไหมซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ตาลปัตร ด้วย, ตาลิปัตร ก็ว่า.

ตีนจก

หมายถึงน. ชื่อเชิงซิ่นที่ทอจกลายโดยใช้ขนเม่นควักและใช้ด้ายหรือไหมสอดลาย แล้วนำมาเย็บติดกับซิ่น, เรียกผ้าที่มีเชิงเช่นนั้นว่า ผ้าตีนจก.

มัดหมี่

หมายถึงน. กรรมวิธีในการทอผ้าอย่างหนึ่ง เอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, เรียกผ้าที่ทอด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า ผ้ามัดหมี่, หมี่ ก็เรียก.

ให้จงได้,ให้ได้

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับกำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.

ค่อย,ค่อย,ค่อย ๆ,ค่อย ๆ

หมายถึงว. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา, เช่น เสียงค่อย พูดค่อยเดินค่อย ๆ อย่าลงส้น; ไม่แรง, เบามือ, เช่น นวดค่อย ๆ จับค่อย ๆ.

ว้า

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น. ว. คำออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า.

เสียงแข็ง

หมายถึงว. อาการที่กล่าวออกมาอย่างยืนยันหนักแน่น เช่น เขาเถียงเสียงแข็งว่าเขาทำถูกต้องแล้ว; อาการที่พูดด้วยน้ำเสียงไม่สุภาพ เช่น อย่าพูดเสียงแข็งกับพ่อแม่. น. คะแนนเสียงดี เช่น ในพื้นที่นี้เขามีเสียงแข็งมาก คงได้รับเลือกตั้งแน่.

สำส่อน

หมายถึงก. ปะปนโดยไม่เลือกเช่นในการคบค้าสมาคมหรือในการซ่องเสพเป็นต้น เช่น สำส่อนทางเพศ จะเป็นเอดส์ไม่รู้ตัว อย่าสำส่อนในการกินอาหาร. ว. ที่ปะปนในลักษณะเช่นนั้น เช่น เที่ยวสำส่อน กินสำส่อน.

ที่ไหนได้

หมายถึง(ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คำใช้แสดงความประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.

ว่าวขาดลอย

หมายถึง(วรรณ) ก. จากไปไม่กลับ, ว่าวขาดลมลอย ก็ว่า เช่น จะจากเจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะเป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).

เหยียบย่ำ

หมายถึงก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำคนจน. น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.

กระบิดกระบวน

หมายถึงน. ชั้นเชิง เช่น ทำจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ