ค้นเจอ 216 รายการ

แสม

หมายถึง[สะแหฺม] น. ชื่อลิงชนิด Macaca fascicularis ในวงศ์ Cercopithecidae เป็นลิงไทยที่มีหางยาวที่สุด คือ ยาวเท่ากับความยาวของหัวและลำตัวรวมกัน ตัวสีนํ้าตาลอมเทา ขนหัวสั้นและวนเป็นรูปขวัญ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง พบทุกภาคของประเทศไทย กินพืช แมลง และปูแสม.

โภชนะห้า

หมายถึง[โพชะนะห้า] น. ข้าว ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก (ข้าวมัน หรือ ข้าวผัด ก็นับเข้า) ขนมสด (ขนมที่จะบูดเมื่อล่วงเวลาแล้ว เช่น แป้งจี่ ขนมด้วง ขนมครก) ขนมแห้ง (ที่ไม่บูด เช่น จันอับ ขนมปัง) ปลา (รวมทั้งหอย กุ้ง และสัตว์นํ้าเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร) เนื้อ (เนื้อของสัตว์บกและนกที่ใช้เป็นอาหาร).

ถนน

หมายถึง[ถะหฺนน] น. หนทางที่ทำขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).

ปูเสฉวน

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ทะเลจำพวกปู ส่วนท้องอ่อนนิ่ม พบตามชายฝั่งหรือนํ้าลึก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเปลือกหอยกาบเดี่ยวที่ว่างเปล่า เช่น สกุล Clibanarius ในวงศ์ Paguridae อยู่ตามโขดหินชายทะเล, สกุล Coenobita ในวงศ์ Coenobitidae อยู่บนบกริมทะเล, สกุล Parapagurus ในวงศ์ Parapaguridae อยู่ในนํ้าลึกระหว่าง ๘๐-๒๐๐ เมตร.

ชักพระ

หมายถึงน. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.

หมู่

หมายถึงน. กลุ่มชนิดเดียวกัน เช่น หมู่ดาว หมู่เมฆ, พวกชนิดเดียวกัน เช่น หมู่มนุษย์ หมู่โจร; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๑๐ คน มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมู่ หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมู่, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้องมียศเป็นนายสิบ, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นจ่า.

กระเหลียก

หมายถึง[-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).

ชลาสินธุ์

หมายถึงน. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัด กวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูปอสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).

แกล้ง

หมายถึง[แกฺล้ง] ก. ทำให้เดือดร้อนรำคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทำเป็นปวดฟัน, จงใจทำ พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

สุขาภิบาล

หมายถึง[สุ-] (เลิก) น. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีฐานะตํ่ากว่าเทศบาล มีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยนายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน เป็นต้น โดยมีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นประธาน มีหน้าที่จัดทำกิจการภายในเขตที่รับผิดชอบ เช่น จัดให้มีและบำรุงทางนํ้า ทางบก และระบายนํ้า รักษาความสะอาดถนนหนทาง กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. (ป. สุข + อภิบาล).

ยานมาศ,ยานุมาศ

หมายถึง[ยานนะมาด, ยานุมาด] น. พระราชยานคานหามสำหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรงราบ มีทั้งที่มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบเข้ากับคานหาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก.

กบ

หมายถึงน. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายนํ้าดำนํ้าได้เร็ว มักวางไข่ในนํ้า เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในนํ้าเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจำศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ