ค้นเจอ 757 รายการ

ประกีรณกะ,ประเกียรณกะ

หมายถึง[ปฺระกีระนะกะ, ปฺระเกียนระนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน. (ส. ปฺรกีรฺณก; ป. ปกิณฺณก).

อาปณกะ

หมายถึง[-นะกะ] น. พ่อค้า. (ป.).

เอกพจน์

หมายถึง[เอกกะ-] (ไว) น. คำที่กล่าวถึงสิ่งเดียว.

กลเหย

หมายถึง[กะละ-] (โบ) ก. ระเหย, ซ่านออก.

จรลิ่ว

หมายถึง[จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).

ให้หลัง

หมายถึงก. คล้อยหลังไป เช่น พอครูให้หลัง เด็ก ๆ ก็ซนกันใหญ่.

ปกติ

หมายถึง[ปะกะติ, ปกกะติ] ว. ธรรมดา, เป็นไปตามเคย, ไม่แปลกไปจากธรรมดา, ปรกติ ก็ว่า. (ป.; ส. ปฺรกฺฤติ).

มักฏกะ

หมายถึง[มักกะตะกะ] (แบบ) น. แมงมุม. (ป. มกฺกฏก; ส. มรฺกฏก).

ฟังขึ้น

หมายถึงว. พอจะยึดถือได้ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เหตุผลฟังไม่ขึ้น.

ล่อหน้า

หมายถึงก. โผล่หน้ามาพอให้เห็น เช่น มีการมีงานเขาล่อหน้ามาเดี๋ยวเดียวก็ไป.

ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า

หมายถึง(สำ) ก. ทำสิ่งใด ๆ ให้พอสมควรกับฐานะของตน, ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า ก็ว่า.

เทอญ

หมายถึง[เทิน] ว. เถิด (ใช้เป็นคำลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ