ค้นเจอ 197 รายการ

กัมมันตภาพรังสี

หมายถึง[กำมันตะ-] น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. (อ. radioactivity).

กรรมพันธุ์

หมายถึง[กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = “มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์” เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).

กรรมชวาต

หมายถึง[กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).

กรรมสิทธิ์

หมายถึง[กำมะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).

รำแพน

หมายถึงก. แผ่หางกระดกขึ้นหรือแผ่ปีกแล้วเดินกรีดกรายไปมา (ใช้แก่นกยูง นกหว้า และนกแว่น). น. การเล่นอย่างโบราณชนิดหนึ่งในการพระราชพิธี ผู้เล่นนุ่งผ้าหยักรั้ง สวมเสื้อคอกลม มือทั้ง ๒ ถือหางนกยูงข้างละกำ รำออกท่าต่าง ๆ เลี้ยงตัวอยู่บนราวลวด.

กรรมวาจก

หมายถึง[กำมะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิดถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก.

ประดู่

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ๒ ชนิดในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม ชนิด P. indicus Willd. กิ่งมักทอดย้อย เปลือกสีเทา มีนํ้ายางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน, ชนิด P. macrocarpus Kurz กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีนํ้าตาลเข้ม มีนํ้ายางมาก ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดงนิยมใช้ทำดุมเกวียน.

สุขนาฏกรรม

หมายถึง[สุกขะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต.

กง

หมายถึงน. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือ ไร่ที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้).

แกะ

หมายถึงก. เอาเล็บมือค่อย ๆ แคะเพื่อให้หลุดออก เช่น แกะสะเก็ด, เอาสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บมือทำเช่นนั้น, ทำเป็นลวดลายหรือรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือ โดยวิธีแกะ เช่น แกะตรา, โดยปริยายหมายความว่า เหมือนกันอย่างกับโขกหรือแคะมาจากพิมพ์เดียวกัน ในความว่า เหมือนกันอย่างกับแกะ; เอามือแงะหรือง้างสิ่งที่เกาะติดกันแน่นหรือกอดไว้แน่นให้หลุดออกจากกัน เช่น แกะมือที่กำแน่น.

มีดโต้

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ใบมีดมีรูปร่างคล้ายน้ำเต้าผ่าเสี้ยว หัวโต สันหนา โคนมีดแคบ ด้ามทำด้วยไม้เป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีด ขนาดสั้นพอมือกำ มีดโต้ขนาดใหญ่และกลาง ใช้ฟันหรือผ่าทั่วไป ขนาดเล็กใช้กรีดหรือผ่าทุเรียนเป็นต้น, พร้าโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก.

กวาด

หมายถึง[กฺวาด] ก. ทำให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน; เอายาป้ายในลำคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทำด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ