ค้นเจอ 213 รายการ

กระบอก

หมายถึงน. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย. (นิ. นรินทร์), กว่ากลิ่นกระบอกบง- กชเกศเอาใจ. (เสือโค), ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. (เทียบอะหม บฺลอก; ไทยใหญ่ หมอก; ไทยขาว และ ไทยนุง บอก; เขมร ตฺรบก).

สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

หมายถึง(กฎ) น. ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ.

ขึ้น

หมายถึงก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับลง; เพิ่มหรือทำให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทำเนียบ; เอ่ยคำหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ, เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทำอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทำให้เป็นรูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจากธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตามทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.

วลี

หมายถึง[วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยังไม่เป็นประโยคสมบูรณ์ เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.

ปฐมยาม

หมายถึง[ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).

โศก,โศก,โศก-

หมายถึง[โสกะ-, โสกกะ-] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์ มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย). ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. (ส.; ป. โสก).

ยั้ง

หมายถึงก. หยุด เช่น ตีไม่ยั้ง กินไม่ยั้ง ยั้งไม่ทัน ลื่นยั้งไม่อยู่, หยุดพักชั่วคราว เช่น ยั้งทัพอยู่ที่นครสวรรค์ ๓ คืน แล้วจึงเดินทัพต่อไป, ชะงักชั่วคราว เช่น ยั้งคิด ยั้งมือ, รั้ง เช่น ยั้งไม่หยุด, ขยัก เช่น อย่าใช้เงินจนหมด ยั้งไว้บ้าง.

กลับ

หมายถึง[กฺลับ] ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทำตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับด่าเอา.

มัชฌิมยาม

หมายถึง[มัดชิมะ-, มัดชิมมะ-] น. ยามกลาง, ในบาลีแบ่งคืนเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม มัชฌิมยาม กำหนดเวลาตั้งแต่ ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา ถึงตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา. (ป.).

คำบอกกล่าว

หมายถึง(กฎ) น. ข้อความที่บุคคลฝ่ายหนึ่งแจ้งเป็นหนังสือ หรือแจ้งด้วยวาจา ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง แสดงเจตนาที่จะใช้สิทธิ สงวนสิทธิ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คำบอกกล่าวสนองในการทำสัญญา คำบอกกล่าวเลิกสัญญา คำบอกกล่าวว่าจะบังคับจำนอง, การส่งตั๋วแลกเงินที่เขาไม่รับรองคืน ก็ถือว่า เป็นการให้คำบอกกล่าวอย่างหนึ่ง.

จรล่ำ,จรหล่ำ

หมายถึง[จอระหฺล่ำ] (กลอน) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อชีชูชกเถ้ามหลกอการ ไปแวนนานจรล่ำแล. (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่าทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ. (ลอ.), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน. (ม. คำหลวง มัทรี).

คล้อย

หมายถึง[คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กำหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ