ค้นเจอ 210 รายการ

โครเมียม

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๘๗๕ °ซ. ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษเพื่อใช้ทำเครื่องมือช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะด้วยโครเมียม. (อ. chromium).

โทรศัพท์

หมายถึงน. ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าเป็นเครื่องมือสื่อสารให้ติดต่อพูดถึงกันได้ในระยะไกลโดยใช้สายตัวนำโยงติดต่อถึงกัน และอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหลักสำคัญ. (อ. telephone), คำว่าโทรศัพท์ที่อยู่หน้าหมายเลขโทรศัพท์มักเขียนย่อว่า โทร. ออกเสียงว่า [โท]. (ปาก) ก. พูดติดต่อกันทางโทรศัพท์.

หูช้าง

หมายถึงน. แผ่นกระดานที่ทำเป็นรูปฉากหรือพัดด้ามจิ้วสำหรับติดกับมุมสิ่งของ, ชื่อฉากซึ่งเป็นเครื่องมือวัดมุมของช่างไม้; แผ่นกระจกหรือพลาสติกที่รถยนต์เป็นรูปคล้ายหูช้าง สำหรับเปิดรับลมหรือระบายลม; ชื่อขนมชนิดหนึ่งปรุงด้วยแป้งกับนํ้าตาลทำเป็นแผ่น ๆ.

อรหันต,อรหันต-,อรหันต์

หมายถึง[อะระหันตะ-, ออระหันตะ-, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคำวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้ อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).

แขนะ

หมายถึง[ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.

กล,กล-

หมายถึง[กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิดเพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจำเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).

บรรทัดราง

หมายถึงน. อุปกรณ์อย่างหนึ่งของช่างไม้ เป็นเชือกพันลูกรอกอยู่ในรางไม้ เมื่อดึงปลายเชือกออกจากรอก เชือกจะผ่านกระปุกซึ่งมีสีดำบรรจุอยู่ทำให้เชือกติดสี เมื่อดึงเชือกให้ตึงตรงแนวพื้นกระดานเป็นต้นที่ต้องการขีดเส้นแล้วดีด สีจากเชือกจะติดพื้นเป็นเส้นตรงตามต้องการ.

กระแหนะ

หมายถึง[-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, แขนะ ก็ว่า.

หิมวัต

หมายถึง[หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). (ส.; ป. หิมวนฺต).

ภาษาราชการ

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.

ปัจจัย

หมายถึงน. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ “ปัจจัย” กับ คำ “เหตุ” มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้แก่ภิกษุสามเณร); (ไว) ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดงความหมายเป็นต้น. (ป.).

สว่าน

หมายถึง[สะหฺว่าน] น. เครื่องมือช่างไม้ปลายเป็นเกลียวแหลมสำหรับเจาะไช มี ๒ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นเหล็กปลายเป็นเกลียวแหลมในตัวสำหรับเจาะไชสิ่งเล็ก ๆ หรือบาง ๆ อีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกดาล ๒ อันต่อกัน ปลายด้านบนมีแป้นสำหรับมือกด ตรงกลางมีที่สำหรับมือจับหมุนให้ดอกสว่านซึ่งสวมติดกับปลายอีกด้านหนึ่งเจาะไชสิ่งที่ค่อนข้างใหญ่หน้าหนา.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ