ค้นเจอ 200 รายการ

ชั่ง

หมายถึงน. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒๐ ตำลึงหรือ ๘๐ บาท เป็น ๑ ชั่ง; ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง หรือมีน้ำหนักเท่ากับ ๑,๒๐๐ กรัม, ถ้าเป็นชั่งจีนมีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม คือเป็นครึ่งหนึ่งของชั่งไทย. ก. กระทำให้รู้นํ้าหนักโดยใช้เครื่องชั่งหรือตราชูเป็นต้น.

จก

หมายถึงก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.

อรหันตฆาต

หมายถึงน. การฆ่าพระอรหันต์, นับว่าเป็นบาปหนักที่สุดอย่าง ๑ ในอนันตริยกรรม ๕ อันได้แก่ ๑. ปิตุฆาต คือ ฆ่าบิดา ๒. มาตุฆาต คือ ฆ่ามารดา ๓. อรหันตฆาต คือ ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท คือ ทำให้พระกายพระพุทธเจ้าห้อเลือด ๕. สังฆเภท คือ ทำให้สงฆ์แตกแยกกัน. (ป.).

กุสุมวิจิตร

หมายถึงน. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).

เขี้ยวตะขาบ

หมายถึงน. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งอย่างเขี้ยวของตะขาบสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, ตะปลิง ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก; ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากันคล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง.

อัษฎาวุธ

หมายถึงน. อาวุธ ๘ อย่าง คือ ๑. พระแสงหอกเพชรรัตน์ ๒. พระแสงดาบเชลย ๓. พระแสงตรี ๔. พระแสงจักร ๕. พระแสงดาบและเขน หรือดาบและโล่ ๖. พระแสงธนู ๗. พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย ๘. พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่นํ้าสะโตง, จะอัญเชิญมาถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก.

ชุมสาย

หมายถึงน. เครื่องสูงชนิดหนึ่ง เป็นรูปฉัตร ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย; เรียกพระที่นั่งสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีประทับในงานต่าง ๆ ของทหาร ลูกเสือ และงานพิเศษบางโอกาส ลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ดาดด้วยหลังคาผ้าระบาย ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย ว่า พระที่นั่งชุมสาย.

กรม

หมายถึง[กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.

อสีตยานุพยัญชนะ

หมายถึง[อะสีตะยานุพะยันชะนะ] น. ลักษณะน้อย ๆ ในร่างกายของผู้ที่เป็นพระมหาบุรุษมี ๘๐ อย่าง คือ ผู้ที่จะเป็นพระมหาบุรุษต้องสมบูรณ์ด้วยลักษณะสำคัญ ๓๒ อย่าง ซึ่งเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ มีรอยพระบาทเป็นลายรูปจักรและอื่น ๆ ตามแบบเป็นต้น และสมบูรณ์ด้วยอสีตยานุพยัญชนะ. (ป.).

อั้น

หมายถึงก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กำหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กำหนดจำนวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้นทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.

เฉลิมพระชนมพรรษา

หมายถึง[ฉะเหฺลิมพฺระชนมะพันสา] น. เรียกวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ว่า วันเฉลิมพระชนมพรรษา.

อิสริยยศ

หมายถึง[อิดสะริยะยด] น. ยศอันยิ่งใหญ่, ยศที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ หมายถึง สกุลยศของพระราชวงศ์ที่ถือกำเนิดมาว่ามียศทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า, ถ้าพระราชวงศ์พระองค์ใดได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดีความชอบ ก็อาจได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรมจึงต่อพระนามกรมไว้ท้ายพระนามเดิม เช่น พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ