ค้นเจอ 361 รายการ

กรรษก

หมายถึง[กัดสก] (แบบ) น. ชาวนา. (ส. กรฺษก; ป.กสฺสก).

กระเวน

หมายถึง(กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).

กปณ

หมายถึง[กะปะนะ] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป.).

ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว

หมายถึง(สำ) ก. ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.

ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ

หมายถึง(สำ) ก. ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง, ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน.

วิพิธทัศนา

หมายถึง[วิพิดทัดสะนา] น. การแสดงหลาย ๆ อย่างที่แสดงต่อเนื่องในสถานที่แสดงเดียวกัน.

โรงนา

หมายถึงน. โรงที่ชาวนาสร้างขึ้นเป็นที่อยู่อาศัย มักจะสร้างบนเนินดินที่สูงกว่าพื้นนากันน้ำท่วม ด้านหนึ่งมียกพื้นสำหรับนอน มีที่ทำครัว และมีที่ว่างสำหรับไว้วัวควายด้วย.

ตราแดง

หมายถึง(โบ) น. หนังสือสำคัญซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่นา ใช้ในบางจังหวัด แทนตราจอง แต่ไม่กำหนดเวลา ๓ ปี ออกให้ในสมัยหนึ่ง แล้วงดไม่ออกอีก เพื่อเก็บอากรค่านาเป็นนาคู่โค แทนที่เคยเป็นนาฟางลอย.

กะอาม

หมายถึงน. กะอวม เช่น กะอามลั่นทมชวน ใจรื่น รมย์นา. (พงศ. เหนือ).

วนจร,วนจรก

หมายถึง[วะนะจอน, วะนะจะรก] น. คนเที่ยวป่า, พรานป่า. ก. เที่ยวไปในป่า. (ป., ส.).

ตะวาง

หมายถึงน. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งคล้ายต้นแขม ขึ้นตามทุ่งนา. (พจน. ๒๔๙๓).

สนาบัน

หมายถึง[สะนา-] น. การอาบนํ้า, การอาบนํ้าให้ผู้อื่น. (ส.; ป. นหาปน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ