ค้นเจอ 208 รายการ

คูหา

หมายถึงน. ถํ้า; สิ่งก่อสร้างเป็นห้อง ๆ อย่างตึกแถว แต่ละห้องเรียกว่า คูหา, ลักษณนามเรียกสิ่งก่อสร้างเช่นนั้น เช่น ตึกแถวนี้มี ๑๐ คูหา; โดยอนุโลมใช้เรียกช่องที่กั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คูหาลงคะแนนในที่เลือกตั้งสำหรับใช้ในการกาบัตรออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง.

สอด

หมายถึงก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอดจดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับเพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.

กุก

หมายถึงว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหก ลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น; เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.

สวน

หมายถึงก. อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน เช่น เดินสวนกัน มีรถสวนมา; เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง เช่น สวนสัด สวนทะนาน; เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก, เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบนํ้ายาหรือนํ้าสบู่ให้เข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวให้อุจจาระออก.

หูรูด

หมายถึงน. รูที่ร้อยเชือกสำหรับชักปากถุงเป็นต้นให้ติดกัน; ปากช่องทวารหนักที่กล้ามเนื้อรัดตัวเข้ามาคล้ายปากถุงที่รูด, โดยปริยายเรียกผู้ที่พูดพล่าม พูดพล่อย หรือพูดโดยไม่ยั้งคิดเสียก่อนว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ว่า ปากไม่มีหูรูด.

ดาล

หมายถึงน. กลอนประตูที่ทำด้วยไม้สำหรับขัดบานประตูอย่างประตูโบสถ์ เช่น ลงดาล ลั่นดาล ขัดดาล, เหล็กสำหรับไขดาล มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างคันฉัตรหลังพระพุทธรูป เรียกว่า ลูกดาล, ช่องสำหรับไขดาล เรียกว่า ช่องดาล, (โบ) ใช้ว่า ดาฬ.

กำปั่น

หมายถึงน. หีบทำด้วยเหล็กหนา สำหรับใส่เงินและของต่าง ๆ รูปค่อนข้างเป็นรูปลูกบาศก์ ฝามีหูยาวตรงกลาง ตอนปลายทำเป็นช่องเล็กเพื่อปิดลงมาสวมขอเหล็กโค้งที่ตัวหีบสำหรับใส่กุญแจ เดิมทำเป็นหีบฝังตะปูหัวเห็ดทั่วตัว.

ฝาสำหรวด

หมายถึงน. ฝาเรือนเครื่องสับแบบหนึ่ง มีโครงไม้คร่าวยืนเป็นหลักซึ่งวางห่างกัน ๑ ฝ่ามือ ระหว่างไม้คร่าวแต่ละช่อง ขัดไม้แผ่นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไม้เซ็น หรือลูกเซ็น วางตามขวาง ด้านหลังไม้เซ็นกรุใบจากอ่อนเป็นต้นแล้วขัดด้วยเข็มไม้ไผ่อีกชั้นหนึ่ง.

ตระหง่อง,ตระหน่อง

หมายถึง[ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.

การ์ตูน

หมายถึงน. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆ มีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.

สุ่ม

หมายถึงน. เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง มักสานด้วยไม้ไผ่เป็นตา ๆ ลักษณะคล้ายทรงกระบอก ด้านบนสอบเข้า มีช่องให้มือล้วงลงไปได้ เรียกว่า สุ่มปลา; เครื่องสานตาห่าง ๆ มีลักษณะครึ่งทรงกลมหรือโอควํ่า ข้างบนมีช่องกลม ๆ ใช้สำหรับครอบขังไก่เป็นต้น เรียกว่า สุ่มไก่, โดยปริยายเรียกกระโปรงที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายสุ่มไก่ว่า กระโปรงทรงสุ่มไก่. ก. อาการที่เอาสุ่มครอบเพื่อจับปลาเป็นต้น, โดยปริยายเรียกอาการที่เดาโดยนึกเอาเองอย่างสุ่มปลาว่า เดาสุ่ม; พูนสูงขึ้นจนล้น เช่น ข้าวสุ่มจาน.

ตีนผี

หมายถึงน. ไม้ซึ่งอยู่ใต้หางหงส์ สอดอยู่ในช่องว่างระหว่างแปหัวเสากับเชิงกลอน; ส่วนของจักรที่ใช้กดผ้าเวลาเดินจักร ยกขึ้นลงได้; ไกที่ติดอยู่ใต้กระปุกตะเกียงลาน สำหรับไขลาน มีลักษณะคล้ายกุญแจไขลานนาฬิกา; (ปาก) เรียกผู้ที่ขับรถเร็วจนน่าหวาดเสียวและไม่รักษากฎจราจรว่า พวกตีนผี.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ