ค้นเจอ 267 รายการ

กษัตรี

หมายถึง[กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา).

ชายา

หมายถึง(แบบ) น. เมีย. (ป., ส.), บางแห่งใช้หมายความว่า ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เสียงพูดเป็น ฉายา ฉัยยา ไฉยา หรือ สายา ก็มี.

ชมบ

หมายถึง[ชะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทำอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ทมบ ก็ว่า.

ส่าย

หมายถึงก. แกว่งไปมา เช่น ส่ายผ้าอ้อมในน้ำ, ย้ายไปมา เช่น ส่ายหัว ส่ายสะโพก ว่าวส่าย. น. กระโปรงยาวที่ผู้หญิงนุ่ง.

สะสวย

หมายถึงว. ค่อนข้างสวย, อยู่ในเกณฑ์สวย, (มักใช้แก่ผู้หญิง), เช่น เด็ก ๆ แต่งตัวสะสวย เธอเป็นคนหน้าตาสะสวย.

แม่พระ

หมายถึงน. คำเรียกพระมารดาของพระเยซู; เรียกผู้หญิงที่มีจิตใจเมตตาปรานีชอบช่วยเหลือผู้อื่นเป็นนิจ.

แม่เล้า

หมายถึง(ปาก) น. หญิงผู้เป็นหัวหน้าซ่องโสเภณี, ผู้หญิงผู้เป็นหัวหน้าควบคุมดูแลเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย.

ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่

หมายถึง(สำ) ก. ให้รู้จักพิจารณาลักษณะบุคคลหรือผู้หญิงที่จะเลือกเป็นคู่ครอง, ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ก็ว่า.

ถวาย

หมายถึง[ถะหฺวาย] ก. ให้, มอบให้, เช่น ถวายของ (ใช้แก่พระสงฆ์หรือเจ้านาย); ให้ดู, ให้ชม, เช่น รำถวายมือ เล่นถวายตัว, แผลงเป็น ดงวาย หรือ ตังวาย ก็ได้.

หนาตา

หมายถึงว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชมมหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.

กามโรค

หมายถึงน. โรคซึ่งติดต่อกันได้โดยการประกอบกามกิจหรือติดต่อกันโดยใช้สิ่งของร่วมกับคนเป็นกามโรคเป็นต้น, เรียกเป็นสามัญว่า โรคบุรุษ หรือ โรคผู้หญิง.

เขย

หมายถึงน. ชายที่มาแต่งงานกับญาติผู้หญิง, ผัวของญาติ, เช่น ถ้าเป็นผัวของลูกสาว เรียก ลูกเขย ถ้าเป็นผัวของป้า เรียก ลุงเขย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ