ค้นเจอ 1,016 รายการ

กฤษฎีกา

หมายถึง[กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากำหนดแห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการบริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มีลักษณะเป็นกฎหมาย.

กษัตริย์

หมายถึง[กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่ ๔ วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ; ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทำด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทำด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.

กษัตรีย์

หมายถึง[กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

กษัยกล่อน

หมายถึงน. ชื่อโรคทางตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ผอมแห้ง ซึ่งเกิดจากโรคกล่อน, เขียนเป็น กระษัยกล่อน ก็มี.

กษีรรส

หมายถึงน. นํ้านม เช่น เปรียบเหมือนกษีรรสคือนํ้านมสดขาวสะอาด. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ).

กัษณ

หมายถึง[กัดสะหฺนะ] (กลอน) น. กษณะ, ขณะ, เช่น ในเมื่อกาลกัษณ. (ม. คำหลวง สักบรรพ).

กาบุรุษ

หมายถึง[กาบุหฺรุด] (แบบ) น. คนเลว. (ส. กาปุรุษ; ป. กาปุริส).

การทะเบียนราษฎร

หมายถึง(กฎ) น. งานทะเบียนต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร เช่น ทะเบียนบ้าน ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร.

กินเศษกินเลย

หมายถึง(สำ) ก. กินกำไร, ยักเอาเพียงบางส่วนที่มีจำนวนเล็กน้อยไว้, ยักเอาส่วนที่เหลือไว้เป็นของตน, เอาเพียงบางส่วนไว้เป็นของตน.

เกษตรกร

หมายถึง[กะเสดตฺระกอน] น. ผู้ทำเกษตรกรรม. (ส.).

เกษตรและสหกรณ์

หมายถึงน. ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตร การเศรษฐกิจการเกษตร การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร การชลประทาน การประมง การปศุสัตว์ การป่าไม้ การพัฒนาที่ดิน และการสหกรณ์.

เกษมศานต์

หมายถึงว. โปร่งอารมณ์, ชื่นชมยินดี. (ส. เกฺษม + ศานฺต, ส. เกฺษม + ป. สนฺต).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ