ค้นเจอ 210 รายการ

คดี

หมายถึง[คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคำศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทางกฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมายกำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).

วิศวกรรม

หมายถึง[วิดสะวะกำ] น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชำนาญในการช่างทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก. (ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม); การนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้.

สดับ

หมายถึง[สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).

ครอบจักรวาล

หมายถึง[คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น "พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์)."

สว่างไสว

หมายถึง[สะหฺว่างสะไหฺว] ว. สว่างรุ่งเรืองทั่วไป เช่น บริเวณงานมีแสงไฟสว่างไสว, โดยปริยายหมายความว่า มีความสุข เช่น โลกนี้ช่างสว่างไสวเหลือเกิน เดี๋ยวนี้ฉันหมดหนี้สินแล้ว ชีวิตฉันจึงสว่างไสวขึ้น.

เสียกำซ้ำกอบ,เสียกำแล้วซ้ำกอบ

หมายถึง(สำ) ก. เสียน้อยแล้วยังจะต้องเสียมากอีก เช่น พระองค์ช่างเชื่อฟังคำคนชั่วโฉด ชาวเมืองมันกล่าวโทษพลอยโกรธตอบ เสียกำแล้วจะซ้ำกอบกระมังหนา. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).

กองทัพ

หมายถึงน. หน่วยทหารที่ประกอบด้วย ทหาร ๓ กองพล และมีทหารหน่วยอื่น ๆ เช่น หน่วยทหารช่าง หน่วยทหารสื่อสาร หน่วยทหารรถถัง หน่วยทหารปืนใหญ่ เป็นส่วนประกอบ มีแม่ทัพเป็นผู้บังคับบัญชา.

เต

หมายถึง(แบบ) ว. สาม, ใช้เติมหน้าศัพท์สังขยาเป็นเศษจำนวนเต็ม เช่น เตรสมสุรทิน = วันที่ ๑๓, เตรสีดิถี = วัน ๑๓ คํ่า, เตวีสติมสุรทิน = วันที่ ๒๓, เตติงสติมสังวัจฉระ = ปี (แห่งรัชกาล) ที่ ๓๓. (ป.).

บังคับ

หมายถึงน. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อำนาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ในฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้อำนาจสั่งให้ทำหรือให้ปฏิบัติ; ให้จำต้องทำ เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.

พลิกแพลง

หมายถึง[-แพฺลง] ว. ยักเยื้องถ่ายเทเป็นอย่างอื่น ๆ, ที่เปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากแบบปรกติธรรมดา, เช่น พูดพลิกแพลง ทำพลิกแพลง เล่นพลิกแพลง เตะตะกร้อท่าพลิกแพลง. ก. กลับกลาย, เปลี่ยนแปลง, เช่น วิธีการพลิกแพลง; ดัดแปลง, ยักย้ายถ่ายเท, เช่น ช่างพลิกแพลง.

คิ้ว

หมายถึงน. ส่วนโค้งขอบกระบอกตาข้างบนซึ่งมีขนขึ้นที่โค้งนั้น; ไม้ที่ช่างลอกเป็นลวดสำหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์; เรียกพายที่ทำเป็นลวดในใบพายว่า พายคิ้ว.

มิติ

หมายถึงน. การวัด (มักใช้ประกอบหลังศัพท์อื่น) เช่น ตรีโกณมิติ สังคมมิติ, ขนาดซึ่งวัดไปตามทิศทางใดทิศทางหนึ่ง โดยถือขนาดยาวเป็นมิติที่ ๑ ขนาดกว้างเป็นมิติที่ ๒ ขนาดหนาหรือสูงเป็นมิติที่ ๓ และถือว่าเวลาเป็นมิติที่ ๔, ในทางศิลปะอาจใช้ หนาหรือลึก แทน กว้างหรือยาว ก็ได้. (ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ