ค้นเจอ 262 รายการ

อร

หมายถึงก. ทำให้ดีใจ, ทำให้ปลาบปลื้มใจ, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).

ถ้ำชา

หมายถึงน. ภาชนะที่โดยมากทำด้วยตะกั่วชนิดหนึ่ง สำหรับใส่ใบชา รูปร่างคล้ายขวด มีฝาปิด เช่น ขมิ้นดินสอพองเอาไว้ไหน เมื่อวานกูใส่ไว้ในถํ้า. (ขุนช้างขุนแผน).

จุกจิก

หมายถึงก. รบกวน, กวนใจ, เช่น อย่าจุกจิกนักเลย. ว. จู้จี้ เช่น เขาเป็นคนจุกจิก; เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่ของจุกจิก, กระจุกกระจิก ก็ว่า.

ลุกลน

หมายถึงก. ทำโดยรีบร้อนไม่เป็นระเบียบ เช่น ทำอะไรอย่าลุกลนของจะหล่นแตก. ว. ไม่สุภาพเรียบร้อย เช่น เขาแสดงกิริยาลุกลน พูดลุกลนฟังไม่เป็นศัพท์.

กัลพุม

หมายถึง[กันพุม] (โบ) น. กรรพุม, มือที่ประนม, เช่น ถวายกรกัลพุมบันสารโกสุม ศิโรจม์. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์); พุ่ม เช่น จับพฤกษางกูรกัลพุม โดยกุสุมฤดูกาล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

จงอร

หมายถึง[-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).

อามิษ,อามิส,อามิส-

หมายถึง[อามิด, อามิดสะ-] น. สิ่งของวัตถุเครื่องล่อใจมีเงินเป็นต้น, เช่น อย่าเห็นแก่อามิสสินจ้าง. (ส. อามิษ; ป. อามิส).

กรุยกราย

หมายถึงว. เดินทำทีท่าเจ้าชู้; มีท่าทางหยิบหย่ง, ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทำฉุยไป. (สุภาษิตสุนทรภู่).

เสียหัว

หมายถึงก. สูญเสียหัวไป; สิ้นเปลืองความคิด เช่น ปัญหาโลกแตกอย่างนี้ อย่าคิดให้เสียหัวเลย เลขข้อนี้กว่าจะทำได้ก็เสียหัวไปหลายชั่วโมง, เสียสมอง ก็ว่า; (ถิ่น-อีสาน) เสียภาษี.

บพิตร

หมายถึง[บอพิด] (แบบ) น. พระองค์ท่าน เช่น บำรุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคำที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.

สลัก

หมายถึง[สะหฺลัก] ก. สกัดกั้น เช่น สลักโจรไว้อย่าให้หนีไปได้. น. เครื่องกั้นหรือกลอนประตูหน้าต่างเป็นต้นแบบเรือนไทยที่ลงไว้เพื่อไม่ให้เลื่อนหรือผลักเข้าไปได้ เช่น ลงสลักประตู.

สำบัดสำนวน

หมายถึงก. พูดจาหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าใจตรง ๆ, ใช้คารมพลิกแพลง, เล่นลิ้น, เช่น อย่าสำบัดสำนวนให้มากนัก. น. สำนวน, คารมพลิกแพลง, เช่น เขาพูดมีสำบัดสำนวนมาก บทความของเขาเต็มไปด้วยสำบัดสำนวน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ