ค้นเจอ 177 รายการ

โขลนทวาร

หมายถึง[โขฺลนทะวาน] น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทำตามตำราพราหมณ์ คือทำเป็นประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพที่ยกไป. (ข. โขฺลงทฺวาร ว่า ประตูใหญ่ที่มีเสาปัก ๒ ข้าง และมีไม้ขวางข้างบน).

สามเส้า เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

สามเศร้า เป็นคำที่เขียนผิด ❌

กระทู้

หมายถึงน. ซอไม้ไผ่ที่เอามาปักเป็นเสารั้ว; หลัก เช่น ช้างพังพลายเป็นสัตว์มีคุณแล้วก็เป็นกระทู้ราชการสำหรับแผ่นดินสืบมา. (ท้องตราโบราณ วชิรญาณรายเดือน เล่ม ๗), เป็นกระทู้การสงคราม. (ประชุมพงศ. ๒); (ไว) ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนำหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้.

สอน

หมายถึงก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอนแม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจำ; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.

แร้ว

หมายถึงน. เครื่องสำหรับดักสัตว์ มี นก ไก่ เป็นต้น มีบ่วงติดอยู่กับปลายของไม้ที่เรียกว่า คันแร้ว ซึ่งเอาโคนปักไว้ที่ดินทำปลายให้โน้มลงมา มีไกที่เรียกว่า ปิ่น ขัดไว้ระหว่างหลักขัดแร้วกับคอน วางบ่วงดักไว้บนคอน เมื่อสัตว์มาจับคอนตรงที่วางบ่วงไว้ ไม้คอนจะเลื่อนลง ทำให้ปิ่นหลุด บ่วงก็จะรูดมัดขาไว้.

คัน

หมายถึงน. แนวดินหรือแนวทรายเป็นต้นที่พูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น คันทราย, แนวดินที่พูนขึ้นมาสำหรับกั้นนํ้า เช่น คันนา คันดิน; สิ่งที่มีลักษณะยาวทำด้วยไม้เป็นต้น สำหรับถือหรือปัก เช่น คันเบ็ด คันไถ คันธง; ลักษณนามเรียกรถหรือของที่มีด้ามถือบางอย่าง เช่น รถ ๓ คัน ช้อน ๔ คัน เบ็ด ๕ คัน.

ธง

หมายถึงน. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทำด้วยกระดาษและสิ่งอื่น ๆ ก็มี สำหรับ (๑) ใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ ตำแหน่งในราชการ โดยมีกำหนดกฎเกณฑ์เป็นต้น เช่น ธงชาติ ธงแม่ทัพนายกอง. (๒) ใช้เป็นเครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เช่น ธงกาชาด บอกที่ตั้งกองบรรเทาทุกข์, ธงขาว บอกความจำนนขอหย่าศึกหรือยอมแพ้, ธงเหลือง บอกเป็นเรือพยาบาลคนป่วยหรือเรือที่มีโรคติดต่ออันตราย, ธงแดง บอกเหตุการณ์อันเป็นภัย. (๓) ใช้เป็นเครื่องหมายเรือเดินทะเล คณะ สมาคม อาคารการค้า และอื่น ๆ. (๔) ใช้เป็นอาณัติสัญญาณ. (๕) ใช้เป็นเครื่องตกแต่งสถานที่ในงานรื่นเริงหรือถือเข้ากระบวนแห่เป็นต้น; ชื่อดาวหมู่หนึ่งตามที่กล่าวว่า โน่นดาวธงตรงหน้าอาชาไนย. (อภัย); ชื่อคันเบ็ดที่ปักประจำล่อปลา, กิริยาที่เอาเบ็ดนั้นไปปักเรียกว่า ธง; ข้อความที่อธิบายนำไว้เป็นตัวอย่าง.

ก้นปล่อง

หมายถึงน. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะหรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่างของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทำให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนำโรคมาสู่คนและสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินนํ้าหรือนํ้าหวานจากดอกไม้.

ราว

หมายถึงน. แถว, แนว, เช่น ราวป่า; เครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับเกาะหรือขึ้นลงเป็นต้น เช่น ราวบันได ราวสะพาน, เรียกไม้ โลหะ และเชือกหรือลวดเป็นต้นที่ขึงสำหรับพาดหรือตากผ้าว่า ราว ราวผ้า หรือราวตากผ้า, ถ้าใช้ขึงสิ่งอื่น ๆ เช่น ขึงมุ้ง เรียกว่า ราวมุ้ง ขึงม่าน เรียกว่า ราวม่าน, ไม้หรือโลหะเป็นต้นสำหรับพาดปักวางสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวพระแสง ราวเทียน.

บายศรี

หมายถึงน. เครื่องเชิญขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง รูปคล้ายกระทง เป็นชั้น ๆ มีขนาดใหญ่เล็กสอบขึ้นไปตามลำดับ เป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น หรือ ๙ ชั้น มีเสาปักตรงกลางเป็นแกน มีเครื่องสังเวยวางอยู่ในบายศรีและมีไข่ขวัญเสียบอยู่บนยอดบายศรี มีหลายอย่าง เช่น บายศรีตอง บายศรีปากชาม บายศรีใหญ่. (ข. บาย = ข้าว + ศรี = สิริ หมายความว่า ข้าวอันเป็นสิริหรือข้าวขวัญ).

ค่ายผนบบ้านหล่อ

หมายถึงน. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบพระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.

ปักเป้า

หมายถึง[ปักกะ-] น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Tetrodontidae และ Diodontidae ลำตัวป้อมหรือกลมมากน้อยแล้วแต่ชนิด ขนาดยาวตั้งแต่ ๖-๖๐ เซนติเมตร เฉพาะบางสกุล เช่น สกุล Canthigaster, Chonerhinus และ Tetrodon ในวงศ์ Tetrodontidae สกุล Diodon และ Chilomycterus ในวงศ์ Diodontidae มีลักษณะแบนข้าง ทุกชนิดสามารถพองตัวได้ ผิวหนังมีหนาม ฟันมีลักษณะเป็นกระดูกแข็ง ไม่มีครีบท้อง บางชนิดพบในนํ้าจืด เช่น ชนิด Chonerhinus modestus ทุกชนิดมีพิษ ไม่ควรนำมารับประทาน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ