ค้นเจอ 206 รายการ

ยาก

หมายถึงน. ความลำบาก. ว. ลำบาก เช่น พูดยาก, ไม่สะดวก เช่น ไปยาก มายาก, ไม่ง่าย เช่น ตอบยาก ทำยาก; จน เช่น คนยาก, นิยมใช้เข้าคู่กันเป็น ยากจน; (โบ) ขายตัวเป็นทาส.

หึงส,หึงส-,หึงสา

หมายถึง[หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

ดูดำดูดี

หมายถึงก. เอาใจใส่ดูแลทั้งในเวลามีทุกข์และมีสุข เช่น จะหวังอะไรให้เขามาดูดำดูดีกับคนอย่างเรา, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เขาไม่ดูดำดูดีเด็กคนนี้เลย.

อนิฏฐารมณ์

หมายถึง[อะนิดถารม] น. อารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจ ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ นินทา ทุกข์, ตรงข้ามกับ อิฏฐารมณ์. (ป. อนิฏฺารมฺมณ).

เจตสิก

หมายถึง[เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).

ชำงือ

หมายถึง(โบ) ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชำงือใจ. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ข. ชํงื ว่า ความไข้, ออกจาก; ฌื ว่า เจ็บ, ไข้).

คดีอนาถา

หมายถึง(กฎ) น. คดีแพ่งที่คู่ความอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา เมื่อศาลได้ไต่สวนเป็นที่เชื่อได้ว่าคู่ความนั้นเป็นคนยากจน ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม ศาลจะอนุญาตให้คู่ความนั้นฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาได้ แต่การขอเช่นว่านี้ถ้าผู้ขอเป็นโจทก์ ผู้ขอจะต้องแสดงให้เป็นที่พอใจศาลด้วยว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้อง หรือในกรณีอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วแต่กรณี.

บรรเทา

หมายถึง[บัน-] ก. ทุเลาหรือทำให้ทุเลา, ผ่อนคลายหรือทำให้ผ่อนคลายลง, เบาบางหรือทำให้เบาบางลง, สงบหรือทำให้สงบ, เช่น บรรเทาทุกข์ อาการโรคบรรเทาลง, ประเทา ก็ใช้.

สงสาร

หมายถึง[สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.

ความ

หมายถึง[คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คำนำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.

เป็นต้น

หมายถึง(ไว) คำที่ใช้แทนเครื่องหมาย ฯลฯ เพื่อละคำหรือข้อความตอนปลายซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับคำหรือข้อความที่ยกขึ้นกล่าวเป็นตัวอย่างตอนต้น เช่น อริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น.

หมดเวร,หมดเวรหมดกรรม

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ