ค้นเจอ 455 รายการ

หาเช้ากินค่ำ

หมายถึงก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง ๆ.

ตะพุ่น

หมายถึง(โบ) น. พวกคนหลวงที่ถูกเกณฑ์ให้เกี่ยวหญ้าเลี้ยงช้าง.

จริว

หมายถึง[จะ-] น. เต่า; ตะพาบนํ้า; เช่น จริวจราวจรัลชลจรมกรกรรกฏกูรม์ (สมุทรโฆษ); กริว หรือ ตริว ก็ว่า.

กระพอก

หมายถึงน. กล่องสานมีฝาครอบสำหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสำหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอกจานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).

บุราณ

หมายถึงว. เก่า, ก่อน, เช่น คำบุราณท่านว่าไว้เป็นครู. (สังข์ทอง). (ป., ส. ปุราณ).

รู้อยู่

หมายถึงว. เลี้ยงง่าย, ไม่อ้อน, ใช้แก่เด็กเล็ก ๆ ว่า เด็กรู้อยู่; (ปาก) โดยปริยายหมายความถึงคนหรือสัตว์เลี้ยงบางชนิดที่ไม่ชอบเที่ยวเตร่.

หอมยับ

หมายถึง(โบ) ก. รวบเก็บไว้ เช่น ข้าแต่พระองค์ผู้เปนเครื่องประดับซึ่งให้หอมยับทรัพย์หนใดฯ. (ม. คำหลวง หิมพานต์).

กระแหน่

หมายถึง(โบ; กลอน) น. เล่ห์กล, แง่งอน, ท่วงที, เช่น ข้ากระไดกระแหน่ แต่งแง่แผ่ตนท่า. (ลอ).

โขยม

หมายถึง[ขะโหฺยม] (โบ) น. ขยม, ข้า, บ่าว, เช่น ไว้โขยมวัดสามครัว. (พงศ. โยนก). (ข. ขฺญฺ ํ).

ลองธรรม์

หมายถึง(แบบ) น. ทางธรรม เช่น แถลงปางพระเลี้ยงโลก ลองธรรม์. (ยวนพ่าย).

เลี้ยงรับ

หมายถึงก. เลี้ยงอาหารเพื่อเป็นการต้อนรับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น เลี้ยงรับผู้ที่จะมาอยู่ใหม่.

กระเป๋าหนัก

หมายถึง(ปาก) ว. มีเงินมาก, ร่ำรวย, เช่น วันนี้ยอมเป็นเจ้ามือเลี้ยงข้าว สงสัยจะกระเป๋าหนัก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ