ค้นเจอ 331 รายการ

ปลงกรรมฐาน

หมายถึง[ปฺลงกำมะถาน] ก. พิจารณากรรมฐาน.

ปัฐยาวัต

หมายถึง[ปัดถะหฺยาวัด] (แบบ) น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง ซึ่งกำหนดด้วยอักษร ๓๒ คำ มี ๔ บาท บาทละ ๘ คำ, บัฐยาพฤต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ป. ปฐฺยาวตฺต).

อเหตุกทิฐิ

หมายถึง[อะเหตุกะทิดถิ] น. ความเห็นว่าบาปบุญในโลกไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย เป็นความเห็นของเดียรถีย์พวกหนึ่ง. (ป. อเหตุกทิฏฺ).

อัฐเคราะห์

หมายถึง(โหร) น. เรียกดาวเฉพาะ ๘ ดวง คือ อาทิตย์ (ประจำทิศอีสาน ใช้เลข ๑ แทน) จันทร์ (ประจำทิศบูรพา ใช้เลข ๒ แทน) อังคาร (ประจำทิศอาคเนย์ใช้เลข ๓ แทน) พุธ (ประจำทิศทักษิณ ใช้เลข ๔ แทน) เสาร์ (ประจำทิศหรดี ใช้เลข ๗ แทน) พฤหัสบดี (ประจำทิศประจิม ใช้เลข ๕ แทน) ราหู (ประจำทิศพายัพ ใช้เลข ๘ แทน) และศุกร์ (ประจำทิศอุดร ใช้เลข ๖ แทน) เขียนเป็นแผนภูมิดังนี้ ว่า ทักษา, ถ้าเกิดวันใด ก็ถือวันนั้นเป็นบริวาร แล้วนับเวียนขวาไปตามทิศทั้ง ๘ เช่น เกิดวันอาทิตย์ อาทิตย์เป็นบริวาร จันทร์เป็นอายุ อังคารเป็นเดช พุธเป็นศรี เสาร์เป็นมูละ พฤหัสบดีเป็นอุตสาหะ ราหูเป็นมนตรี และศุกร์เป็นกาลกรรณี.

อำนิฐ,อำนิษฐ์

หมายถึง[-นิด] ว. น่าปรารถนา, เป็นที่พอใจ, ต้องใจ, น่ารัก. (แผลงมาจาก อิฏฐ).

เอื้อนวาจา,เอื้อนโอฐ,เอื้อนโอฐ

หมายถึง(ปาก) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้ในความหมายเชิงประชดประชัน เช่น กว่าจะเอื้อนโอฐออกมาได้เหมือนกลัวดอกพิกุลจะร่วง.

โอษฐภัย

หมายถึงน. ภัยที่เกิดจากคำพูด.

ไม่กี่อัฐ,ไม่กี่อัฐฬส

หมายถึง(สำ) น. ราคาถูก เช่น ของนี้ราคาไม่กี่อัฐ.

ยัฐิมธุกา

หมายถึง[ยัดถิมะทุกา] น. ชะเอมเครือ. (ป. ยฏฺิมธุกา).

ยิฏฐะ,ยิฐะ

หมายถึง[ยิดถะ] น. การบูชา, การเซ่นสรวง. (ป. ยิฏฺ; ส. อิษฺฏ).

รัฐประศาสนนัย,รัฐประศาสโนบาย

หมายถึง[รัดถะปฺระสาสะนะไน, รัดถะปฺระสาสะโนบาย] น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.

รากฐาน

หมายถึงน. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับสำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็นรากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ