ค้นเจอ 2,173 รายการ

คำพ้องรูป

หมายถึงคำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.

ฉันใด

หมายถึงว. อย่างไร, อย่างใด, เช่นใด. ส. อย่างใด, เช่นใด, (เป็นคำที่ใช้เข้าคู่กับคำ ฉันนั้น ซึ่งเป็นคำรับ).

คำเผดียงสงฆ์

หมายถึงน. ญัตติ, คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน.

แม้

หมายถึงสัน. ผิ, หาก, เช่น แม้ฝนตก ฉันก็จะมา, ใช้ว่า แม้น ก็มี; คำสนับสนุนข้ออ้างให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ.

ผิดคำพูด

หมายถึงว. ไม่รักษาคำพูด, ผิดวาจา ก็ว่า.

จะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น.

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

เครื่องหมายคำถาม

หมายถึงน. ปรัศนี.

สนิทปาก

หมายถึงว. ไม่รู้สึกกระดากใจหรือตะขิดตะขวงใจ เช่น พูดเท็จได้สนิทปาก พูดคำหยาบโลนได้สนิทปาก, สนิทปากสนิทคอ ก็ว่า.

หรือ

หมายถึงสัน. คำบอกความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาเงินหรือทอง; คำประกอบกับประโยคคำถาม เช่น ไปหรือ.

จ๊ะ

หมายถึงว. คำต่อท้ายคำเชิญชวนหลังคำ “นะ” หรือ “ซิ” เช่น ไปนะจ๊ะ เชิญซิจ๊ะ หรือต่อท้ายคำถามเป็นต้น เช่น อะไรจ๊ะ.

กริยาวิเศษณ์

หมายถึง(ไว) น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ