ค้นเจอ 249 รายการ

เงือด,เงือดงด

หมายถึงก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคำรบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง).

เจ้ากรม

หมายถึงน. หัวหน้ากรมในราชการฝ่ายทหาร, (โบ) หัวหน้ากรมในราชการฝ่ายพลเรือน เช่น เจ้ากรมสวนหลวง. (สามดวง), หัวหน้ากรมของเจ้าต่างกรม.

ขู่เข็ญ

หมายถึงก. ทำให้กลัวโดยบังคับ; (กฎ) แสดงกิริยาหรือวาจาให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้นั้น หรือของบุคคลที่สาม.

โซงโขดง

หมายถึง[-ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).

ปั้นสิบ

หมายถึงน. ของกินอย่างหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ใช้แป้งห่อไส้แล้วม้วนบิดริมแป้งตรงที่ประกบกันให้เป็นลายเกลียว นึ่งหรือทอด, แป้งสิบ ก็เรียก.

สักหมาย

หมายถึง(โบ) น. เครื่องหมายที่สักเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อให้รู้ว่าสังกัดอยู่ในหมู่ใดกรมใด เช่น ไพร่หลวงทั้งปวงซึ่งมีสักหมายหมู่กรมนั้นแล้ว. (ตราสามดวง).

หนวดพราหมณ์

หมายถึง[หฺนวดพฺราม] น. ปลายสายของซอสามสายที่พาดผ่านหย่องลงมาสอดเข้าที่รูหน้าของทวนล่างไปออกทางด้านหลัง แล้วขมวดเข้าด้วยกัน ทิ้งชายซึ่งเรียกว่าหนวดพราหมณ์ไว้.

ท่อ

หมายถึง(โบ) ก. ตี เช่น ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่อเมืองตาก กูไปท่อบ้านท่อเมือง. (จารึกพ่อขุนรามคำแหง).

กระหมุดกระหมิด

หมายถึงว. ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัดกระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

กรมศักดิ์

หมายถึง[กฺรมมะสัก] (กฎ; โบ) น. ชื่อกฎหมายลักษณะหนึ่ง ซึ่งกำหนดระวางโทษปรับตามศักดินา อายุ และความร้ายแรงหนักเบาของความผิดที่กระทำ. (สามดวง).

ทศ,ทศ,ทศ-

หมายถึง[ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

สมรัก

หมายถึงก. ร่วมประเวณี เช่น ชายลอบลักสมรักทำชู้ด้วยลูกสาวท่านก็ดี... สองลอบสมรักด้วยกัน มิได้สู่ขอมีขันหมากเปนคำนับ. (สามดวง).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ