ค้นเจอ 331 รายการ

เซ็ง

หมายถึงว. ชืด, จืดชืด, หมดรส, (ใช้เรียกสิ่งที่ควรจะบริโภคหรือจัดทำในเวลาหนึ่ง แต่ทิ้งไว้นานเกินควร), หมดความตื่นเต้น.

ข้าวเปียก

หมายถึงน. ข้าวที่ต้มและกวนให้เละ, ข้าวที่ต้มกับนํ้ากะทิเจือเกลือเล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ.

ไข่เค็ม

หมายถึงน. ไข่ที่ดองนํ้าเกลือ, ไข่ที่พอกด้วยขี้เถ้าหรือแกลบผสมเกลือ มักทำจากไข่เป็ด มีรสเค็ม, ไข่พอก ก็เรียก.

หมูหย็อง

หมายถึงน. ของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย.

เปรี้ยวหวาน

หมายถึงน. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง ใช้ผัก เช่น แตงกวา มะเขือเทศ หอมใหญ่ ผัดกับเนื้อสัตว์ ปรุงให้มีรสออกเปรี้ยวและหวาน.

ต้มยำ

หมายถึงน. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นต้มในนํ้าเปล่าหรือในกะทิ ใส่ตะไคร้ ใบมะกรูด และปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยนํ้าพริกเผาหรือนํ้าพริก.

มะกอก

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spondias pinnata (L.f.) Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้เป็นผักดิบ ผลขนาดลูกหมากดิบ เมื่อสุกมีรสเปรี้ยวเจือฝาด ใช้ปรุงอาหาร รากและเมล็ดใช้ทำยาได้, มะกอกบ้าน หรือ มะกอกป่า ก็เรียก.

ต้มข่า

หมายถึงน. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง มีลักษณะคล้ายต้มยำกะทิ แต่มักใช้เนื้อไก่ ใส่ข่าอ่อน ปรุงรสด้วยนํ้าพริกเผา นํ้าปลา มะนาว พริกขี้หนู.

ตะครอง

หมายถึง[-คฺรอง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Ziziphus cambodiana Pierre ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลกลม รสฝาด.

มะขาม

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Tamarindus indica L. ในวงศ์ Leguminosae ฝักมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้, พันธุ์ฝักแบนใหญ่เรียก มะขามกระดาน, พันธุ์ฝักเล็กเรียก มะขามขี้แมว, พันธุ์ฝักมีรสหวานเรียก มะขามหวาน.

อาภรณ์

หมายถึง[-พอน] น. เครื่องประดับ, บางทีก็ใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พัสตราภรณ์ = เครื่องประดับคือเสื้อผ้า สิราภรณ์ = เครื่องประดับศีรษะ คชาภรณ์ = เครื่องประดับช้าง พิมพาภรณ์ = เครื่องประดับร่างกาย ในคำว่า ถนิมพิมพาภรณ์ ธรรมาภรณ์ = มีธรรมะเป็นเครื่องประดับ. (ป., ส.).

ส้มตำ

หมายถึงน. ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้นมาตำประสมกับเครื่องปรุงมี กระเทียม พริก มะนาว กุ้งแห้ง เป็นต้น มีรสเปรี้ยว, บางท้องถิ่นเรียก ตำส้ม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ