ค้นเจอ 160 รายการ

อี

หมายถึงน. คำประกอบหน้าชื่อการเล่นบางอย่าง เช่น อีตัก อีขีดอีเขียน; คำประกอบหน้าชื่อท่าในการเล่นบางอย่าง เช่น อีงุ้ม อีเข่า ในการเล่นสะบ้า อีรวบ อีกาเข้ารัง ในการเล่นหมากเก็บ.

พลิกแพลง

หมายถึง[-แพฺลง] ว. ยักเยื้องถ่ายเทเป็นอย่างอื่น ๆ, ที่เปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากแบบปรกติธรรมดา, เช่น พูดพลิกแพลง ทำพลิกแพลง เล่นพลิกแพลง เตะตะกร้อท่าพลิกแพลง. ก. กลับกลาย, เปลี่ยนแปลง, เช่น วิธีการพลิกแพลง; ดัดแปลง, ยักย้ายถ่ายเท, เช่น ช่างพลิกแพลง.

ตีน

หมายถึงน. อวัยวะส่วนล่างสุดของคนหรือสัตว์ นับตั้งแต่ใต้ข้อเท้าลงไป สำหรับยืนหรือเดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นหรือส่วนล่างของสิ่งบางอย่าง เช่น ตีนม่าน ตีนมุ้ง; ชาย, เชิง, เช่น ตีนท่า ตีนเลน.

ระบำ

หมายถึงน. การแสดงที่ใช้ท่าฟ้อนรำ ไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกอย ระบำฉุยฉาย. ก. ฟ้อนรำที่แสดงไม่เป็นเรื่องราว มุ่งความสวยงามหรือความบันเทิง จะแสดงคนเดียวหรือหลายคนก็ได้.

เรือขนาน

หมายถึงน. เรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสำหรับข้ามฟาก; เรือที่จอดเทียบท่าสำหรับรับเสด็จขึ้นจากเรือพระที่นั่ง; เรือที่ใช้ในการทำสังฆกรรมในน่านน้ำซึ่งจอดขนานไปกับลำน้ำให้ห่างจากฝั่งกว่าชั่ววักน้ำสาด.

เล่นหาง

หมายถึงว. เรียกลักษณะการเขียนหนังสือที่ตวัดปลายตัวอักษรให้ยาวออกเกินปรกติว่า เขียนเล่นหาง; เรียกลักษณะท่าเต้นของการเชิดสิงโตโดยม้วนตัวงับหางตัวเองว่า สิงโตเล่นหาง; อาการที่ว่าวปักเป้าติดลมสะบัดหางพลิ้วไปมา.

ชักรอก

หมายถึงก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อนผ่านร่องของรอกเพื่อยก ลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะว่า โขนชักรอก.

กาจับหลัก

หมายถึงน. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลักมีวัตถุรูปกระจับสำหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทำร้ายของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้นเสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตำราขี่ช้าง).

ละครพันทาง

หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง ดัดแปลงจากละครรำแบบเดิม ตัวละครพูดบทของตนเอง มักแสดงเรื่องแต่งจากพงศาวดารชาติต่าง ๆ มีท่ารำ สำเนียงเจรจา และทำนองเพลงตามชาตินั้น ๆ เช่น ละครพันทางเรื่องราชาธิราช เรื่องพระลอ เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนพระไวยแตกทัพ) เรื่องเลือดสุพรรณ.

ไม้

หมายถึงน. คำรวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของต้นไม้ที่ใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คำประกอบหน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทำด้วยไม้หรือเดิมทำด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คำนำหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดำ ไม้แดง, ท่ารำและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็นตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอด เป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.

สารถีชักรถ

หมายถึงน. ชื่อเพลงไทย ๒ ชั้นทำนองหนึ่ง ต่อมามีผู้แต่งขยายเป็น ๓ ชั้น แล้วตัดลงเป็นชั้นเดียว เพื่อให้ครบเป็นเพลงเถา เรียกว่า เพลงสารถีเถา; วิธีรำละครท่าหนึ่งอยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา.(ฟ้อน).; ชื่อเพลงยาวกลบทแบบหนึ่ง ตัวอย่างว่า สงสารกายหมายมิตร์คิดสงสาร ประมาณจิตร์ผิดเพราะเชื่อเหลือประมาณ เสียดายการที่คิดเปล่าเศร้าเสียดาย. (จารึกวัดโพธิ์).

เทียบ

หมายถึงก. เอามาให้ติด เช่น จอดเรือเทียบท่า เทียบรถ, เอามาให้ใกล้กัน เช่น เอาเรือเล็กเข้าเทียบเรือใหญ่, เปรียบ เช่น เอาผ้า ๒ ชิ้นมาเทียบสีกัน; จัด, แต่ง, เช่น เทียบสำรับ; (ราชา) ชิมอาหารหรือยาก่อนที่จะถวายพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายเพื่อป้องกันสิ่งที่เป็นพิษ ในคำว่า เทียบเครื่อง เทียบพระโอสถ; ลักษณนามเรียกยาจีนที่จัดเป็นชุด เช่น ยาเทียบหนึ่ง ยา ๒ เทียบ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ