ค้นเจอ 1,326 รายการ

ผ้ายก

หมายถึงน. ผ้าไหมชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลายเด่นขึ้น.

เหน็บ

หมายถึงก. พูดเสียดสีแคะไค้ เช่น เขาชอบมาเหน็บให้เจ็บใจ. ว. อาการที่พูดเสียดสีแคะไค้ ในคำว่า พูดเหน็บ.

ลิ้นลังกา

หมายถึงว. ที่พูดรัวเร็ว; (สำ) พูดพล่อย ๆ จนไม่น่าเชื่อถือ.

กะหนอกะแหน

หมายถึง[-หฺนอ-แหฺน] ว. เสียงพูดอย่างน่าเอ็นดูเหมือนเสียงเด็กพูด.

จ้อย,จ้อย,จ้อย ๆ

หมายถึงว. คล่อง, ไม่หยุดปาก, ในคำว่า พูดจ้อย หรือ พูดจ้อย ๆ.

ทอ

หมายถึงก. พุ่งเส้นด้ายหรือเส้นไหมเป็นต้นให้ขัดกับเส้นยืนในเครื่องทอ เช่น ทอผ้า ทอไหม ทอกระสอบ ทอเสื่อ.

ตาด

หมายถึงน. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือทองแล่งจำนวนเท่ากัน, เรียกชื่อตามลักษณะของลาย เช่น ตาดลายคดกริช ตาดตาตั๊กแตน, ถ้ามีไหมปักทับลงไปอีกเป็นดอก ๆ เรียกว่า ตาดระกำไหม.

ลิ้นไก่สั้น

หมายถึงว. อาการที่พูดอ้อแอ้หรือพูดไม่ชัดอย่างคนเมาเหล้าเป็นต้น.

กระโชกโฮกฮาก

หมายถึงว. อาการพูดกระชากเสียงหรือพูดกระแทกเสียงซึ่งไม่น่าฟัง, โฮกฮาก ก็ว่า.

เรา

หมายถึงสรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.

พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. พูดไม่ติดขัด เช่น สารพัดพูดคล่องเหมือนล่องนํ้า. (ไกรทอง), พูดคล่องเป็นล่องนํ้า ก็ว่า.

ขลึง

หมายถึง[ขฺลึง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เล่น เช่น พูดขลึง ว่า พูดเล่น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ