ค้นเจอ 2,744 รายการ

ไวพจน์

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง คำพ้องความ ก็ว่า (ภาษาบาลี คือ เววจน)

ลูกคอ

หมายถึงน. เสียงเอื้อนหรือเสียงครวญในเวลาร้องเพลงเป็นต้น.

ซู่,ซู่,ซู่ ๆ

หมายถึงว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกมาก ๆ แต่ตกไม่นาน.

มาตราพฤติ

หมายถึงน. ฉันท์ที่กำหนดด้วยมาตรา คือ กำหนดคำในฉันท์แต่ละคำเป็นมาตราส่วน เช่น คำครุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คำลหุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา.

งูกลืนหาง,งูกินหาง,งูกินหาง

หมายถึงน. ชื่อกลอนกลอักษร วรรคหนึ่ง ๆ ต้องมีคำซ้ำกัน ๓ คู่ คือระหว่าง ๓ คำหน้ากับ ๓ คำสุดท้ายของวรรค แต่เวลาเขียนจะตัดคำซ้ำ ๓ คำสุดท้ายของแต่ละวรรคออก เวลาอ่านให้อ่านไปจนจบวรรคแล้วย้อนกลับไปอ่านคำที่ ๑ ถึงคำที่ ๓ ในวรรคเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่างว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดัง เหมือนน้ำตาลหวานเตือน เสนาะจริงยิ่งคำหวาน อ่านว่า ฟังเสียงหวานขานเสียงดังฟังเสียงหวาน เหมือนน้ำตาลหวานเตือนเหมือนน้ำตาล เสนาะจริงยิ่งคำหวานเสนาะจริง.

นาท

หมายถึงน. ความบันลือ; เสียงบันลือ, เสียงร้อง. (ป., ส.).

ว้าก

หมายถึงว. เสียงร้องดัง ๆ อย่างเสียงเด็กร้อง, หวาก ก็ว่า.

อ๊อดแอ๊ด,อ๊อด ๆ แอ๊ด ๆ

หมายถึงว. เสียงดังอย่างเสียงเปิดปิดประตูที่บานพับฝืดเป็นต้น.

แปร๋,แปร๋แปร้น

หมายถึงว. เสียงดังแหลมอย่างเสียงช้างร้องเมื่อโกรธหรือตกใจ, แปร้นแปร๋ ก็ว่า.

กรอด

หมายถึง[กฺรอด] ว. เซียวลง เช่น ผอมกรอด; เสียงดังอย่างเสียงกัดฟัน.

ติ๋ง,ติ๋ง ๆ

หมายถึงว. เสียงนํ้าหยด, เสียงร้องเรียกลูกสุนัข.

ฟี่,ฟี้

หมายถึงว. เสียงอย่างเสียงลมรั่วออกจากที่อัดลมไว้ เช่น เสียงปล่อยลมดังฟี้ นอนกรนฟี้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ