ค้นเจอ 181 รายการ

ฉะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.

หิมวัต

หมายถึง[หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). (ส.; ป. หิมวนฺต).

ปัจจุทธรณ์

หมายถึง[ปัดจุดทอน] (แบบ) น. การถอนคืน. ก. ถอนคืน (ในวินัยใช้คู่กับ อธิษฐาน ซึ่งแปลว่า ตั้งใจ เช่น อธิษฐานสบง คือตั้งใจให้เป็นสบงครอง ภายหลังไม่อยากให้เป็นสบงครองก็ถอนคืนสบงนั้น เรียกว่า ปัจจุทธรณ์สบง). (ป.).

เทววาจิกะ

หมายถึงว. ที่ทำด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียกสรณคมน์ในเวลาแรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์.

คันธ,คันธ-,คันธะ

หมายถึง[คันทะ-] (แบบ) น. กลิ่น, กลิ่นหอม, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า หอม. (ป., ส.); ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คันธหัตถี กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม. (ดู กาฬาวก).

วะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ว เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ว่อนว่อน กร่อนเป็น วะว่อน วาบวาบ กร่อนเป็น วะวาบ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ.

คะ

หมายถึงคำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.

ราชปะแตน

หมายถึง[ราดชะปะแตน] น. เสื้อนอกคอปิดมีกระดุม ๕ เม็ดกลัดตลอดอย่างเครื่องแบบปรกติขาวของข้าราชการ. (เดิมเรียกว่า ราชแปตแตน มาจากคำบาลีผสมอังกฤษว่า Raj pattern แปลว่า แบบหลวง).

กลิ่นอาย เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

กลิ่นไอ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

สมโพธิ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

สมโพด, สมโพธ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

บริจาริกา

หมายถึง[บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคำ บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).

หมายถึง[อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ