ค้นเจอ 264 รายการ

กระหยัง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. สมุกใส่เครื่องนุ่งห่ม. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑); ภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายตะกร้าสำหรับใส่ของ.

กล่าวโอม

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ก. สู่ขอ.

ก้อย

หมายถึงน. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง; (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า.

กะต่า

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ตะกร้า, ตะกร้ามีหูหิ้ว; หูก.

กะทัน

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นพุทรา. (ดู พุทรา).

กะบั้ง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. บ้องไม้ไผ่.

กินดอง

หมายถึงก. กินเลี้ยงในการแต่งงาน. (ถิ่น-อีสาน) น. พิธีอย่างหนึ่งทำเมื่อผัวเมียมีบุตรด้วยกันคนหนึ่ง หรือไม่มีบุตร แต่ได้ทำพิธีแปลงออกครบ ๓ ปี.

แจ่ว

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องจิ้มชนิดหนึ่ง ทำด้วยนํ้าปลาร้าหรือน้ำปลาใส่พริกป่น.

ชงโลง

หมายถึงน. โพง, เครื่องวิดนํ้ารูปคล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง แล้วจับด้ามให้พุ้ยนํ้าเข้าออกตามต้องการ, โชงโลง ก็ว่า, (ถิ่น-อีสาน) กะโซ้. (ข. โชฺรง).

ซับ

หมายถึงก. เอาของเช่นผ้าหรือกระดาษทาบลงที่นํ้าหรือสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นเพื่อให้แห้ง; (ถิ่น-อีสาน) ซึมซาบ, กำซาบ. น. รองในในการฝังเพชรหรือพลอยในกระเปาะแหวน; เรียกกระดาษที่ใช้ซับหมึกให้แห้งว่า กระดาษซับ; เรียกที่ที่มีน้ำซึมซาบอยู่ภายใต้ว่า ที่น้ำซับ.

เถียง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เรือนพักชั่วคราวในทุ่งนา สำหรับอยู่เฝ้าข้าว.

ขยอง

หมายถึง[ขะหฺยอง] (ถิ่น-อีสาน) ก. ผยอง, รู้สึกหวาดกลัว.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ