ค้นเจอ 677 รายการ

มุม

หมายถึงน. จุดที่เส้น ๒ เส้นมาบรรจบกัน เช่น เดินชนมุมโต๊ะ, เนื้อที่ตรงด้านยาวกับด้านสกัดมาบรรจบกัน เช่น วางตู้ไว้ที่มุมห้อง, ที่ว่างซึ่งเกิดจากเส้นตรง ๒ เส้น แยกออกจากกัน โดยปลายข้างหนึ่งของแต่ละเส้นอยู่ร่วมจุดเดียวกัน เช่น มุมฉาก มุมแหลม, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถูกต้อนเข้ามุม จนมุม.

เกล็ดนาค

หมายถึงน. ชื่อลายมีรูปเป็นครึ่งวงกลมซ้อนกันคล้ายเกล็ดปลา.

ผ้าป่าน

หมายถึงน. ผ้าที่ทอด้วยป่าน มีลักษณะบางโปร่ง เส้นแกร่ง.

กรวยเชิง

หมายถึงน. ลายที่ทำเป็นรูปกรวย ใช้เป็นลายชายผ้าและปลายเสา เรียกชื่อต่าง ๆ กันแล้วแต่ลายอยู่ที่ไหน เช่น ถ้าอยู่ที่เชิงผ้า เรียกว่า กรวยเชิง, ถ้าอยู่ที่เชิงผ้าเกี้ยว เรียกว่า เชิงเกี้ยว, ถ้าอยู่ที่ด้ามหอก เรียกว่า เชิงหอก.

วุ้นเส้น

หมายถึงน. แป้งถั่วเขียวทำเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวอย่างเส้นลวด เมื่อแช่นํ้าทำให้อ่อนคล้ายวุ้น ใช้ทำเป็นอาหาร เช่น แกงร้อน, เส้นแกงร้อน ก็เรียก.

เส้นแกงร้อน

หมายถึงน. แป้งถั่วเขียวทำเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวอย่างเส้นลวด เมื่อแช่นํ้าทำให้อ่อนคล้ายวุ้น ใช้ทำเป็นอาหาร เช่นแกงร้อน, วุ้นเส้น ก็เรียก.

มุมกดลง

หมายถึงน. มุมระหว่างเส้นตรงที่ลากจากจุดเล็งไปยังวัตถุกับเส้นตรงแนวระดับที่ลากผ่านจุดเล็งในเมื่อวัตถุนั้นอยู่ตํ่ากว่าจุดเล็ง, มุมก้ม ก็เรียก.

แรเส้น

หมายถึงก. แกะเส้นบนไม้หรือบนผิวโลหะ. ว. เรียกเส้นที่แกะบนไม้หรือบนผิวโลหะว่า เส้นแร.

ลงเลขลงยันต์

หมายถึงก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.

ใยฟ้า

หมายถึงน. สิ่งที่เป็นเส้นละเอียดอ่อนอย่างใยแมงมุมที่ลอยอยู่ในอากาศ.

ปั่นด้าย

หมายถึงก. เอาเส้นใยที่ทำให้ฟูตัวแล้วมาดึงให้ยืดเป็นเส้นพร้อมกับบิดเกลียวเพื่อให้เส้นใยเกาะตัวเป็นเส้นยาวติดต่อกัน.

หัวมุม

หมายถึงน. จุดรวมทั้งบริเวณใกล้จุดที่เส้น ๒ เส้น แนว ๒ แนว หรือระนาบ ๒ ระนาบมาบรรจบกัน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ