ค้นเจอ 200 รายการ

รอย

หมายถึงน. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอยประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.

กมล

หมายถึง[กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คำหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).

อินทรวงศ์

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๗ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓

ประจบ

หมายถึงก. บรรจบ, เพิ่มให้ครบจำนวน, เช่น มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท; จดกัน, ใกล้ชิดติดต่อกัน, เช่น ปูกระดานให้ประจบกัน ทาง ๒ สายมาประจบกัน, ทำให้เข้ากันสนิท เช่น ติดกรอบหน้าต่างให้มุมประจบกัน.

คำสร้อย

หมายถึงน. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ.

ยุบยิบ

หมายถึงว. ละเอียดเกินไป, ถี่ถ้วนเกินไป, เช่น ตรวจยุบยิบ คิดยุบยิบทุกบาททุกสตางค์; อาการคันน้อย ๆ ทั่วทั้งตัวหรือเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่ง เช่น คันยุบยิบไปทั้งตัว คันจมูกยุบยิบ.

ทศ,ทศ,ทศ-

หมายถึง[ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

ตะโพง

หมายถึงว. อาการวิ่งก้าวยาว ๆ หรือวิ่งอย่างกระโดด; โทง ๆ, โหย่ง ๆ, เช่น ก็จะทำคลุมโปงตะโพงดัน. (ปกีรณำพจนาดถ์), วิ่งตะโพงกอดบาท. (นิทราชาคริต), ตะพง ก็ว่า.

ลายเบา

หมายถึงน. ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป็นร่องตื้น ๆ บนพื้นหินหรือพื้นโลหะ เช่น ลายเบาจารึกบนพื้นหินชนวน ลายเบาบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์.

กำแพงเขย่ง

หมายถึง[-ขะเหฺย่ง] น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก.

นาภี

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

นาภิ

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ