ค้นเจอ 185 รายการ

กุมภัณฑ,กุมภัณฑ-,กุมภัณฑ์

หมายถึง[-พันทะ-] น. ยักษ์ เช่น หนึ่งท่าทานพกุมภัณฑ์คันธอสูร โสรจสินธุสมบูรณ์ ณ สระ (สมุทรโฆษ); ฟักเขียว เช่น ป่าเอลาลุอลาพุกุมภัณฑอคร้าวอนันต์. (สมุทรโฆษ).

สมบัติ

หมายถึง(วิทยา) น. ลักษณะประจำของสาร เช่น ไอโอดีน มีสมบัติเป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาดำเป็นเงาวาว หลอมละลายที่ ๑๑๔ °ซ. เมื่อระเหิดให้ไอสีม่วง.

กลั่น

หมายถึง[กฺลั่น] ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สำคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นนํ้า, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.

ผงขาว

หมายถึงน. ยาเสพติดร้ายแรงชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประเภทแอลคาลอยด์ คือ มอร์ฟีน เฮโรอีน และแอลคาลอยด์อิ่น ๆ ที่ได้จากฝิ่น ลักษณะเป็นของแข็ง เมื่อทำให้ร้อนจะแปรสภาพเป็นไอ.

ผ่าว

หมายถึงว. อาการที่รู้สึกร้อนแรงเมื่อมีไอร้อนมากระทบ เช่นตัวร้อนผ่าว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่รู้สึกคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อกร้อนผ่าว หน้าร้อนผ่าว.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้นได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นำพยัญชนะเดี่ยวได้อย่างอักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นำตัว ย ให้เป็นเสียงอักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็นเครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และประสมกับเครื่องหมายเป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.

หัวเทียน

หมายถึงน. เดือยหัวเสาสำหรับรับขื่อ; กลอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ซึ่งทำหน้าที่ให้ประกายไฟฟ้าในการจุดระเบิด เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ไอเชื้อเพลิง ผสมอากาศภายในกระบอกสูบ.

กระแอม

หมายถึงก. ทำเสียงแอมในคอคล้ายไอ เพื่อให้โปร่งคอ ให้เสียงหายเครือ เพื่อให้เขารู้ หรือระวัง เป็นต้น, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระไอ เป็น กระแอมกระไอ.

โอษฐชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากริมฝีปาก ได้แก่พยัญชนะวรรค ป คือ ป ผ พ ภ ม และอักษร ว กับสระอุ อู. (ป. โอฏฺช; ส. โอษฺฐฺย).

ไม้

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายกำกับตัวอักษร เพื่อบอกระดับเสียง เช่น ๋ เรียกว่า ไม้จัตวา, เพื่อบอกชนิดสระ เช่น ไ เรียกว่า ไม้มลาย, เพื่อให้อ่านซํ้า คือ ๆ เรียกว่า ไม้ยมก, หรือเพื่อไม่ให้ออกเสียงอ่าน คือ ์ เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต.

ลหุ

หมายถึง[ละ-] ว. เบา; เร็ว, ฉับไว; ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน.

อนุญาต เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

อนุญาติ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ