ค้นเจอ 159 รายการ

กระเบา

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Hydnocarpus วงศ์ Flacourtiaceae เช่น กระเบาใหญ่ หรือ กระเบานํ้า (H. anthelminthica Pierre ex Laness.) เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีนํ้าตาล ขนาดเท่าผลส้มโอขนาดย่อม เนื้อในเป็นแป้งสีเหลืองอ่อน ๆ กินได้ เมล็ดมีนํ้ามัน เคยใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน ต้นที่มีแต่ดอกเพศผู้ เรียกว่า แก้วกาหลง, กระเบากลัก หรือ กระเบียน (H. ilicifolia King) เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ผลกลม เปลือกแข็ง มีขนสีดำ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง.

อาขยาต

หมายถึง[-ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).

วิภัตติ

หมายถึง[วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).

โศกนาฏกรรม

หมายถึง[โสกะนาดตะกำ, โสกกะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่นเรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอ-จูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก.

ละครดึกดำบรรพ์

หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะงดงามสง่าภาคภูมิ เช่น ละครดึกดำบรรพ์เรื่องอิเหนา เรื่องคาวี, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร).

กระชอน

หมายถึงน. ชื่อแมลงชนิด Gryllotalpa orientalis ในวงศ์ Gryllotalpidae ลำตัวยาว ขนาดย่อมกว่านิ้วก้อยเล็กน้อย สีนํ้าตาล ปีกสั้น บินได้ในระยะใกล้ ขาคู่หน้าสั้นแบน รูปร่างคล้ายอุ้งมือ ปลายมีหนามแข็ง ใช้ขุดดิน อาศัยอยู่ในดิน กินรากพืชและแมลงเล็ก ๆ.

โปกำ

หมายถึงน. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือเมล็ดละหุ่ง เป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนนทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตูแทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธีแทงโปมาใช้ คือ เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และอา, ถั่ว ก็เรียก.

ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ

หมายถึง(สำ; โบ) น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัว ก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้นก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้า เข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น. (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔).

ถั่ว

หมายถึงน. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือ เมล็ดละหุ่งเป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนนทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือเศษ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตูแทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธีแทงโปมาใช้ มี เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และ อา, โปกำ ก็เรียก.

พอง

หมายถึงก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่าปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัวให้โตขึ้น เช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไปทอดก็จะพอง.

โศลก

หมายถึง[สะโหฺลก] น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.

กว่า

หมายถึง[กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคำใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คำหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทางที่จะกว่า. (ม. คำหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คำหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ลํ๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ