ค้นเจอ 194 รายการ

เสี้ยว

หมายถึงน. ส่วน ๑ ใน ๔ เช่น เขาผ่าแตงโมออกเป็น ๔ เสี้ยว, ส่วนย่อย เช่น เขาผ่าฟักทองเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ. ว. เฉ, ไม่ตรง, เช่น เธอตัดผ้าเสี้ยว.

ดวงเดือนประดับดาว

หมายถึงน. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บจิตมิตรหมางค้างเขินขวย เวียนวนหลงลมงมงงงวย ฉาบฉวยรวยเร่อเธอถูกทาง.

ทักข์

หมายถึงก. ดู, แล, เห็น, เช่น เล็งทักข์อาทรเธอ เท่าฟ้า, เล็งทักข์ทุรเวทแล้ว เล็งดอย ดงนา. (ลำน้ำน้อย).

ซึ้ง

หมายถึงว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง; รู้สึกเอิบอาบซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกายและจิตใจ เช่น ภาพนี้มองดูซึ้ง ฟังเขาพูดแล้วรู้สึกซึ้งมาก.

ทำซ้ำ

หมายถึง(กฎ) ก. คัดลอกไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกเสียงและภาพจากต้นฉบับ หรือจากการโฆษณาในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายความถึง คัดลอกหรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด ไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน.

เสียดสี

หมายถึงก. ถูกัน เช่น กิ่งไม้เสียดสีกันจนเกิดไฟไหม้ป่า ว. อาการที่ว่ากระทบกระเทียบเหน็บแนมด้วยความอิจฉาเป็นต้น เช่น เธอไม่ชอบเขา จึงพูดเสียดสีเขาเสมอ ๆ.

ส่องกระจก

หมายถึงก. ดูภาพตนเองในกระจกเงา, โดยปริยายหมายความว่า ให้สำรวจดูฐานะหรือข้อบกพร่องของตน (มักใช้ในอาการที่ดูหมิ่น) เช่น กลับไปส่องกระจกดูเงาตัวเองเสียบ้าง.

กระหนาบ

หมายถึงก. ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน. (พากย์); ดุดันเอา. (แผลงมาจาก ขนาบ).

อยู่ ๆ,อยู่ดี ๆ

หมายถึงว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.

ระบายสี

หมายถึงก. ลงสี, แต้มสี, ป้ายสี, เช่น ระบายสีภาพทิวทัศน์ด้วยสีน้ำ; เสริมแต่งเกินความจริง เช่น เขาระบายสีข่าวเสียจนเชื่อไม่ลง. ว. ที่เสริมแต่งเกินความจริง เช่น ข่าวระบายสี.

พิสมัย

หมายถึง[พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).

ฮ่อ

หมายถึงน. จีนพวกหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน มีมณฑลยูนนานเป็นต้น, จีนฮ่อ ก็เรียก; ลายเส้นที่เขียนเป็นไพรคิ้ว ไพรปาก บนหน้าโขน ประกอบด้วยเส้นสีแดง ดินแดง และสีทอง เรียกว่า ลายฮ่อ หรือ เส้นฮ่อ; ลายที่เขียนเป็นอย่างแถบผ้าสะบัดกลับไปมา ใช้เขียนเพื่อแบ่งภาพเป็นตอน ๆ ในงานจิตรกรรมฝาผนังหรือจิตรกรรมภาพพระบฏ เรียกว่า ลายฮ่อ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ