ค้นเจอ 261 รายการ

ภมการ

หมายถึง[พะมะกาน] น. ช่างกลึง. (ป.).

ภาษาราชการ

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.

ภินทนาการ

หมายถึงน. อาการแตก. (ป.).

มาตรการ

หมายถึง[มาดตฺระ-] น. วิธีการที่ตั้งเป็นกฎ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือกฎหมายเป็นต้น เช่น ใช้มาตรการเด็ดขาด วางมาตรการในการปราบโจรผู้ร้าย; วิธีการที่จะปรับเข้าไปสู่ผลสำเร็จ เช่น วางมาตรการในการดำเนินงาน.

กรมการ

หมายถึง[กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ตำแหน่งพนักงานปกครองที่มีมาแต่สมัยโบราณ และได้กำหนดไว้ในข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ร.ศ. ๑๑๖ เรียกว่า กรมการเมือง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ พวก คือ กรมการในทำเนียบ และกรมการนอกทำเนียบ. (ส. กรฺม + การ).

กษัยการ

หมายถึง[กะไสยะกาน] น. การที่สิ่งต่าง ๆ ค่อยผุพังและแพร่สะพัดหรือกระจัดกระจายไปเพราะพลังลม พลังนํ้า หรือปฏิกิริยาเคมี. (อ. erosion).

กำมังละการ

หมายถึงน. ตำหนัก. (ช.).

กุมภการ

หมายถึงน. ช่างหม้อ. (ป.).

ค่าป่วยการ

หมายถึง(กฎ) น. ค่าชดเชยการงานหรือเวลาที่เสียไป.

โฆษณาการ

หมายถึงน. การป่าวร้องให้ทราบ, การแจ้งความให้ทราบ. (ส. โฆษณา + อาการ).

จรรมการ

หมายถึงน. ช่างหนัง. (ส.; ป. จมฺมการ).

จุนทการ

หมายถึง[จุนทะกาน] (แบบ) น. ช่างกลึง. (ป.; ส. กุนฺทกร).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ