ค้นเจอ 331 รายการ

เชษฐ,เชษฐ-,เชษฐ-

หมายถึง[เชดถะ-] น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺ; ส. เชฺยษฺ). ว. “เจริญที่สุด”. (ส.; ป. เชฏฺ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดา หมายถึง พี่ชาย, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย.

ฐากูร

หมายถึง[ถากูน] (แบบ) น. รูปเคารพ, เทพเจ้าที่นับถือ; ใช้เสริมท้ายชื่อคนที่มีชื่อเสียง เช่น โควินทฐากูร ชื่อผู้แต่งคัมภีร์กาพย์กลอน. (ส. กฺกุร).

ฐานราก

หมายถึงน. โครงสร้างตอนล่างสุดที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง; (กฎ) ส่วนของอาคารที่ใช้ถ่ายนํ้าหนักอาคารลงสู่ดิน.

ฐานานุศักดิ์

หมายถึงว. ตามควรแก่เกียรติศักดิ์. น. ศักดิ์ที่พระราชาคณะมีอำนาจตั้งฐานานุกรมได้.

ฐานียะ

หมายถึง(แบบ) ว. ควรแก่ตำแหน่ง, ตั้งอยู่ในฐานะ, มักประกอบท้ายศัพท์ เช่น ครุฐานียะ ว่า ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครู. (ป.).

ฐิติ

หมายถึง[ถิติ] น. การตั้งอยู่, การยืนอยู่, การดำรงอยู่; การเป็นไป, ความมีชีวิตอยู่; การหยุดอยู่; ความมั่นคง, ความอดทน; ตำแหน่ง, ที่อยู่; ข้อบังคับ, ข้อบัญญัติ; ความแน่นอน. (ป.).

ทนตกาษฐ์

หมายถึง[-กาด] น. ไม้สีฟัน คือท่อนไม้เล็ก ๆ สำหรับถูฟันให้สะอาด ทำจากต้นไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้คนทา. (ส. ทนฺต + กาษฺ).

สมมุติฐาน

หมายถึง[สมมดติ-, สมมุดติ-] น. ข้อคิดเห็นหรือถ้อยแถลงที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย. (อ. hypothesis).

ทาฐะ,ทาฒะ

หมายถึง(แบบ) น. เขี้ยว, งาช้าง. (ป. ทาา; ส. ทาฒา).

ทิฏฐานุคติ

หมายถึง(แบบ) น. แบบอย่าง. (ป. ทิฏฺานุคติ ว่า ดำเนินตามสิ่งที่ปรากฏ).

ธนิษฐะ,ธนิษฐา

หมายถึงน. ดาวฤกษ์ที่ ๒๓ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปกา, ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ ก็เรียก.

ธรรมาธิษฐาน

หมายถึง[ทำมาทิดถาน, ทำมาทิดสะถาน] ว. มีธรรมเป็นที่ตั้ง ที่ยกหลักธรรมหรือสิ่งที่เป็นนามธรรมล้วน ๆ ขึ้นมาอ้างหรืออธิบาย. (ส.; ป. ธมฺมาธิฏฺาน).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ