ค้นเจอ 135 รายการ

ลูกบิด

หมายถึงน. อุปกรณ์สำหรับจับบิดเพื่อปิด เปิดประตูหน้าต่าง เดิมทำเป็นลูกกลม ๆ; อุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์สำหรับปิดเปิดให้ของเหลวเป็นต้นหยุดผ่านหรือไหลผ่าน; อุปกรณ์สำหรับบิดเร่งหรือลดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือหย่อน มักทำด้วยไม้หรืองา.

ย้อย

หมายถึงก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อยลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมากย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะเป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย.

ลิ่มเลือด

หมายถึงน. เลือดซึ่งแปรรูปคล้ายวุ้น มีทั้งประโยชน์และโทษ ที่มีประโยชน์เกิดนอกร่างกาย เช่นเวลาเป็นแผลมีเลือดออกแล้วแข็งเป็นลิ่ม เลือดก็จะหยุดไหล ที่มีโทษเกิดภายในร่างกายซึ่งเกิดจากการผิดปรกติบางอย่างของร่างกาย อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้โดยไปอุดตามหลอดเลือดฝอย เช่นที่สมอง ทำให้เป็นอัมพาต ที่หัวใจ ทำให้หัวใจวาย.

ตูหนา

หมายถึงน. ชื่อปลาไหลนํ้าจืดชนิด Anguilla bicolor ในวงศ์ Anguillidae ที่ว่ายลงทะเลเพื่อขยายพันธุ์ ลำตัวกลมยาว แบนข้างทางท่อนหาง มีครีบอก เกล็ดเล็กฝังแน่นอยู่ในหนัง ลำตัวและครีบสีนํ้าตาลหรือเกือบดำเสมอกัน พบทางเขตภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๕ เมตร.

รอง

หมายถึงก. รับรวมของเหลวหรือสิ่งอื่นที่ไหลตกลงมา เช่น รองนํ้า; ต้านทานคํ้าจุนให้คงอยู่ เช่น รองหัวเข็ม, หนุนให้สูงขึ้น เช่น เอาไม้รองโต๊ะรองตู้, รองรับ เช่น เอาเบาะรองนั่ง เอาผ้ารองมือ. ว. เป็นที่ ๒ โดยตำแหน่ง เช่น รองอธิบดี รองอธิการบดี, ถัดลงมาโดยอายุหรือตำแหน่ง เช่น ตำแหน่งรองลงมา, ด้อยกว่า เช่น เป็นรอง.

อั้น

หมายถึงก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กำหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กำหนดจำนวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้นทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.

เท

หมายถึงก. ตะแคงหรือเอียงภาชนะเพื่อให้สิ่งที่อยู่ในนั้นไหลลงไปหรือออกไป เช่น เทนํ้า เทขยะ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝนตกลงมามาก ๆ อย่างเทนํ้า ก็เรียกว่า ฝนเทลงมา, อาการที่คนจำนวนมาก ๆ เคลื่อนไปรวมกันตามแนวเท. ว. เอียงหรือตะแคงไปข้างหนึ่ง เช่น เรือเท พื้นเท. น. ชื่อมาตราตวงเหล้า ๑ เท เท่ากับ ๒๐ ทะนาน.

ลิ่ม

หมายถึงน. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นที่มีสันหนาปลายบาง สำหรับจีมหรือขัดให้แน่น หรือตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อให้แตกแยกออกจากกัน, ไม้ขัดบานประตูหน้าต่างซึ่งมีลักษณะคล้ายลิ่ม, เรียกเงินหรือทองที่หลอมเป็นแท่งตามที่ต้องการเพื่อเก็บรักษาไว้ว่า เงินลิ่ม ทองลิ่ม, เรียกอาการที่เลือดไหลออกมาแข็งตัวเป็นก้อน ๆ ว่า เลือดออกเป็นลิ่ม ๆ.

สบ

หมายถึงก. พบ, ปะ, เช่น สบโชค สบตา สบเหมาะ ฟันบนสบฟันล่าง, ถูก, ต้อง, เช่น สบใจ สบปาก สบอารมณ์. น. บริเวณที่แม่น้ำตั้งแต่ ๒ สายขึ้นไปมาบรรจบกัน เช่น สามสบ คือบริเวณที่แม่น้ำบีคี่ใหญ่ ห้วยซองกะเลีย และแม่น้ำรันตี รวม ๓ สาย มาสบกัน แล้วไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย. ว. ทุก ๆ, เสมอ, เช่น สบไถง ว่า ทุกวัน, สบสมัย ว่า ทุกสมัย. (ข.).

สัก

หมายถึงก. เอาของแหลมแทงลงด้วยวิธีการหรือเพื่อประโยชน์ต่าง ๆ กัน เช่น สักปลาไหล สักหาของในนํ้า สักรอยชํ้าเพื่อรีดเอาเลือดที่คั่งออก, ใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกหรือนํ้ามันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระเครื่องหมาย หรือลวดลาย, ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก, ถ้าใช้นํ้ามัน เรียกว่า สักนํ้ามัน, (โบ) ทำเครื่องหมายโดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกแทงที่ผิวหนังเพื่อแสดงเป็นหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์หรือเป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว สักหน้า แสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิกเป็นต้น.

แตก

หมายถึงก. แยกออกจากส่วนรวม เช่น แก้วแตก ชามแตก, ทำให้แยกออกจากส่วนรวม เช่น แตกสามัคคี แตกหมู่คณะ; คุมหรือควบคุมไว้ไม่อยู่ เช่น แตกฝูง ไฟธาตุแตก ใจแตก ตบะแตก; ปะทุ เช่น ถ่านแตก; ผลิ เช่น แตกกิ่งก้าน แตกใบอ่อน แตกหน่อ; ไหลออกมาเอง เช่น เหงื่อแตก เยี่ยวแตก ขี้แตก; มีรอยแยก, แยกออกเป็นรอย, เช่น กำแพงแตก หน้าขนมแตก; เรียกผู้อ่านหนังสือออกคล่องว่า อ่านหนังสือแตก, เรียกเสียงห้าวเมื่อเริ่มเป็นหนุ่มว่า เสียงแตก, เรียกอาการที่พูดจนแสบคอหรือตะโกนดังจนสุดเสียงว่า พูดจนคอแตก ตะโกนจนคอแตก.

ลง

หมายถึงก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ