ค้นเจอ 256 รายการ

ยางน่อง

หมายถึงน. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ยิงสัตว์.

รู้เค้า

หมายถึงก. รู้ร่องรอย เช่น รู้เค้าว่าใครเป็นฆาตกร เก็บเงินไว้ให้ดีอย่าให้ใครรู้เค้า.

จั่นห้าว

หมายถึงน. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียวกับหน้าไม้ก็ได้.

คล้อย

หมายถึง[คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กำหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียกอาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.

สีสา

หมายถึง(ปาก) ว. ประสีประสา (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เด็กคนนี้พูดจาไม่รู้สีสา อย่าถือสาเลย.

พะพาน

หมายถึงก. พ้องพาน เช่น อย่าให้ความชั่วมาพะพาน, พบปะ เช่น ไม่ได้พบปะพะพานมานาน, เกี่ยวพัน เช่น กิ่งไม้ยื่นมาระพะพาน.

ข้าวใหม่ปลามัน

หมายถึง(สำ) น. อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียกช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน.

รู้รส

หมายถึงก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสียบ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.

เสียกระบวน

หมายถึงก. ไม่เป็นกระบวน เช่น กองทัพถูกตีร่นจนเสียกระบวน, ไม่เป็นไปตามลำดับรูปแบบที่กำหนด เช่น จัดรถบุปผชาติให้เป็นไปตามลำดับ อย่าให้เสียกระบวน.

เพรา

หมายถึง[เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพราให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.

เอ็ด

หมายถึงก. ทำเสียงดัง, ดุ, ดุเสียงดัง; แพร่งพราย; มักใช้ในความปฏิเสธว่า อย่าเอ็ดไป. ว. เอะอะ, อึกทึก.

เผือ

หมายถึง(กลอน) ส. ข้า, ฉัน, เช่น สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ. (ลอ), เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ