ค้นเจอ 230 รายการ

บอกบท

หมายถึงก. อ่านข้อความในบทโขนละครให้คนร้องร้องตามที่บอก, อ่านข้อความในบทละครให้ผู้เล่นพูดหรือร้องตามที่บอก; บอกหรือสั่งให้ทำสิ่งใด ๆ ตามที่ผู้บอกต้องการ.

ตัวประกอบ

หมายถึงน. ผู้แสดงบทบาทไม่สำคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียงประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น.

กินบุญเก่า

หมายถึง(สำ) ก. ได้รับผลแห่งความดีที่ทำไว้แต่ปางก่อน (มักใช้เป็นสำนวนอุปมาแก่คนที่นอนกินนั่งกินสมบัติเก่า).

สำนวนความ

หมายถึง(กฎ) น. บรรดาคำคู่ความและเอกสารหรือแผ่นกระดาษไม่ว่าอย่างใด ๆ ที่คู่ความหรือศาลหรือเจ้าพนักงานศาลได้ทำขึ้น ซึ่งประกอบเป็นสำนวนของคดี.

รัดเครื่อง

หมายถึงก. แต่งเครื่องละครรำตัวพระ นาง ยักษ์ และลิง โดยเย็บผ้าให้กระชับเข้ากับตัวผู้แสดง.

นาฏย,นาฏย-

หมายถึง[นาดตะยะ-] (แบบ) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรำ, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. (ส. นาฏฺย).

องก์

หมายถึงน. ตอนหนึ่ง ๆ ในบทละคร แต่ละตอนอาจมีเพียงฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้. (ป., ส. องฺก).

เพลงเชิด

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินทางไกล.

กระต่ายชมจันทร์

หมายถึงน. ท่ารำละครท่าหนึ่ง. (ฟ้อน); เพลงเสภา ๒ ชั้น ของเก่าพวกเพลงเกร็ด.

มโนราห์

หมายถึงน. ศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี, โนรา ก็ว่า, เขียนว่า มโนห์รา ก็มี.

กาบพรหมศร

หมายถึงน. ชื่อกาบกระหนกชนิดหนึ่งที่ประกอบกับโคนเสา เช่น เสาบุษบก มีลักษณะคล้ายอินทรธนูละคร.

โวหาร

หมายถึงน. ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ