ค้นเจอ 177 รายการ

เพาะชำ

หมายถึงน. การเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เป็นเมล็ดจนโตถึงระยะพอที่จะนำไปปลูกที่อื่นได้, การเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่ตัดกิ่งไปปักในดินที่ชุ่มน้ำจนกระทั่งรากงอกและแตกใบแล้วนำไปปลูกที่อื่นได้.

หกคะเมน

หมายถึงก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.

แพ้ว

หมายถึงก. แขวนหรือปักสิ่งของเช่นรูปหุ่นหลอกไว้ เพื่อป้องกันนกการบกวน เรียกว่า แพ้วนก แพ้วกา; โดยปริยายหมายความว่า อยู่ตรากตรำ ตากแดดตากฝน เป็นต้น เช่น ไปยืนแพ้วคอยดูขบวนแห่.

ราวเทียน

หมายถึงน. เครื่องประกอบการบูชา ลักษณะเป็นคานโลหะแบนทอดขวาง มีเสาคู่หนึ่งตั้งขึ้นรับหัวและท้ายคาน บนหลังคานติดบัวจงกลหรือลูกถ้วยรายเป็นระยะห่างกันพองามสำหรับปักเทียน.

หลัก

หมายถึงน. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก; เครื่องหมาย เช่น หลักเขต; เครื่องยึดเหนี่ยว เช่น มีธรรมะเป็นหลักในการดำรงชีวิต, เครื่องจับยึด เช่น หลักแจว; สาระที่มั่นคง เช่น พูดจาไม่มีหลัก หลักกฎหมาย หลักเศรษฐศาสตร์.

พัดพุดตาน

หมายถึงน. พัดยศของพระครูสัญญาบัตรหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้น มีลักษณะกลม แต่มีแฉกโดยรอบ พื้นทำด้วยกำมะหยี่ สักหลาด แพร หรือเยียรบับ ปักทองแล่ง ดิ้นมัน ดิ้นเลื่อม หรือดิ้นธรรมดา มีสีและลวดลายต่าง ๆ ตามชั้นแห่งสมณศักดิ์.

ตาด

หมายถึงน. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือทองแล่งจำนวนเท่ากัน, เรียกชื่อตามลักษณะของลาย เช่น ตาดลายคดกริช ตาดตาตั๊กแตน, ถ้ามีไหมปักทับลงไปอีกเป็นดอก ๆ เรียกว่า ตาดระกำไหม.

ธงสามชาย

หมายถึงน. ธงรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ปลายธงมี ๓ แฉก เป็น ๓ ชายลดหลั่นกัน มักใช้นำริ้วกระบวน ถ้าใช้เข้ากระบวนแห่ในพระราชพิธี ผืนธงทำด้วยผ้าสักหลาดสอดสีปักดิ้นหักทองขวางเป็นลวดลาย.

โป๊ะ

หมายถึงน. ที่สำหรับดักปลาทะเล ทำด้วยเสาไม้จริงปักเป็นวง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นเฝือกกรุข้างใน มีประตูตรงกลาง ข้างประตูโป๊ะใช้เสาไม้จริงปักยาวเหยียดออกไปทั้ง ๒ ข้าง เพื่อกั้นปลาให้ว่ายเลียบเลาะมาเข้าโป๊ะ เรียกว่า ปีกโป๊ะ, ลักษณนามว่า ปาก หรือ ลูก; เรียกเรือสำหรับจับปลาในโป๊ะว่า เรือโป๊ะ; ทุ่นสำหรับเทียบเรือเพื่อขนถ่ายสินค้าหรือให้คนขึ้นลง; เครื่องครอบตะเกียงเพื่อบังลมหรือบังคับแสงไฟ.

แน่น

หมายถึงว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทำให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.

หล็อน,หล็อน ๆ

หมายถึงว. น้อยไป, เล็กไป, เช่น ของนี้หล็อนมือ, ไม่สมส่วน เช่น แจกันใบใหญ่ มีดอกไม้ปักอยู่ ๒-๓ ดอก ดูแล้วหล็อนตา; รู้สึกว่าไม่เป็นไปตามที่ควรจะมีจะเป็น เช่น เคยสวมนาฬิกาข้อมือทุกวัน แต่วันนี้ลืมสวม เลยรู้สึกหล็อน ๆ มือ.

จั้นหล่อ

หมายถึงน. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสาสูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลัง ขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง, ค่ายผนบบ้านหล่อ จังหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ