ค้นเจอ 120 รายการ

ปัก

หมายถึงก. ตั้งฝังลง เช่น ปักเสา, เอาหัวดิ่งลง เช่น นกปักหัวลง เครื่องบินปักหัวลง; เสียบ เช่น ปักปิ่น ปักดอกไม้, ใช้เข็มร้อยด้าย ไหม หรือดิ้นเป็นต้นแล้วแทงลงไปบนผืนผ้าให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ปักลวดลาย ปักด้าย ปักไหม.

ตะบัน

หมายถึงน. เครื่องตำหมากของคนแก่ มีรูปคล้ายกระบอก โดยมากทำด้วยทองเหลือง มีลูกตะบันสำหรับตำ และมีดากอุดก้น. (เทียบ ข. ตฺบาล่). ก. ทิ่มหรือแทงกดลงไป, กระทุ้ง; (ปาก) ดึงดัน เช่น ตะบันเถียง. ว. คำประกอบกริยาหมายความว่า ไม่มียับยั้ง, เรื่อยไป, เช่น เที่ยวตะบัน เถียงตะบัน.

ไม้กลัด

หมายถึงน. สิ่งที่มีปลายแหลม ๒ ข้าง โดยมากทำด้วยไม้ไผ่เหลาเล็ก ๆ หรือก้านมะพร้าว ตัดเป็นท่อนสั้น ๆ สำหรับใช้แทงขัดกระทงหรือใบตองที่ห่อขนมเป็นต้น; ไม้ไผ่เหลาเป็นอันเล็ก ๆ ปลายเรียวโคนใหญ่ ใช้ขัดมุ่นผมจุกเด็ก.

เสียบ

หมายถึงก. แทงคาไว้ เช่น เอาไม้แหลมเสียบปลา เอามีดเสียบพุง, เอาของดันลงบนปลายสิ่งที่แหลม ๆ เช่น เอากระดาษเสียบบนที่เสียบกระดาษ, เหน็บ เช่น เอาจดหมายเสียบไว้ที่ประตู; ยืนตัวแข็งทื่อต่อหน้าผู้ใหญ่เป็นการแสดงกิริยาไม่อ่อนน้อม เรียกว่า ยืนเสียบ.

บาง

หมายถึงน. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลำคลอง หรือทะเล; ตำบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือในบริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้ามกับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็กเอวบาง หรือ เอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลำบากไม่ได้เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.

อั้น

หมายถึงก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กำหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กำหนดจำนวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้นทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.

ปากซ่อม

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Scolopacidae ลำตัวป้อม ลายนํ้าตาลและขาว ปากยาวแหลมเล็ก ขาสั้น หากินในเวลาพลบคํ่าและเวลากลางคืน ใช้ปากแทงหาอาหารจำพวกหนอนและไส้เดือนในดิน มักอยู่ตามลำพัง มีหลายชนิด เช่น ปากซ่อมหางเข็ม (Gallinago stenura) ปากซ่อมหางพัด (G. gallinago) ปากซ่อมดง (Scolopax rusticola).

ต่อย

หมายถึงก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.

มีดบังตอ

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ ใบมีดมีดแบนเรียว ปลายแหลมคล้ายใบข้าว มีคม ๒ ด้าน ด้ามสั้นพอกำ ใช้แทงหรือฉลุหยวกกล้วยทำเป็นลวดลายในงานเครื่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันหนาและแอ่นโค้ง ด้ามทำด้วยไม้ขนาดสั้นพอมือกำ ใช้สับเนื้อและกระดูกหมูเป็นต้น.

ส้อม

หมายถึงน. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหารกิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับเสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลมดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.

น้ำเต้า

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Lagenaria siceraria Standl. ในวงศ์ Cucurbitaceae อยู่ในจำพวกฟักแฟง ดอกสีขาว ผลกินได้ เมื่อแก่แห้งใช้เป็นภาชนะได้; อวัยวะส่วนที่อยู่โคนงวงช้าง มีรูปโป่งคล้ายลูกนํ้าเต้า; ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือจะเป็นผู้ซัดหรือฝัดลูกบาศก์ซึ่งมี ๖ หน้า เขียนเป็นรูป นํ้าเต้า ปู ปลา เสือ ไก่ และกุ้ง ให้ลูกค้าแทง. (๒) โกฐนํ้าเต้า. (ดู โกฐนํ้าเต้า).

กระเบน

หมายถึงน. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่น ผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ