ค้นเจอ 213 รายการ

กัทลี

หมายถึง[กัดทะลี] (แบบ) น. กล้วย เช่น คิดพ่างผลกัทลี ฆ่ากล้วย. (โลกนิติ). (ป., ส. กทลี).

ลูกสังกะสี

หมายถึงน. ชื่อปลากัดพันทางที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลาลูกหม้อกับปลาลูกป่าซึ่งเป็นชนิด Betta splendens เช่นเดียวกัน.

แร่

หมายถึงก. รี่เข้าใส่, กรากเข้าใส่, เช่น หมาแร่เข้าใส่. ว. อาการที่รี่เข้าใส่, อาการที่กรากเข้าใส่, เช่น วิ่งแร่มาแต่ไกล.

หอน

หมายถึงก. ร้องเสียงยาวโหยหวน (ใช้แก่หมา), (ปาก) เสียงวี้ดหรือกรี๊ดจากเครื่องยนต์หรือเครื่องขยายเสียงเป็นต้น.

ขย้ำ

หมายถึง[ขะยํ่า] ก. เอาปากงับกัดอย่างแรง, โดยปริยายหมายถึงการทำร้ายด้วยวาจาหรือการกระทำอย่างรุนแรง.

หมุบ,หมุบ ๆ

หมายถึง[หฺมุบ] ว. อาการที่หยิบ กัด หรือเคี้ยวโดยเร็ว เช่น พอได้โอกาสก็คว้าหมุบ ปลาฮุบเหยื่อหมุบ ๆ.

สะอิดสะเอียน

หมายถึงก. ชวนให้คลื่นไส้อย่างรุนแรง ทั้งโดยตรงและโดยปริยายต่อสิ่งที่เร้าเร่งให้เกิดอารมณ์เช่นนั้น เช่น เห็นหมาเน่าแล้วสะอิดสะเอียน เห็นคนฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้วสะอิดสะเอียนไม่อยากเข้าใกล้.

เล่นสัปดน

หมายถึงก. กระทำในสิ่งที่หยาบโลน, กระทำอุตรินอกแบบนอกแผน เช่น เด็กเล่นสัปดน เอาประทัดผูกหางหมาแล้วจุด.

ไข้จับสั่น

หมายถึงน. ไข้ที่เกิดเพราะถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียกัด มีอาการหนาวและสั่น, ไข้มาลาเรีย ก็ว่า. (อ. malarial fever, malaria, paludism).

บิด

หมายถึงก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทำให้ผิดไปจากสภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความเกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่างแรงทำนองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา. น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.

น้ำมันหม่อง

หมายถึงน. ยาที่ใช้ทาบรรเทาอาการขัดยอก หรือความเจ็บปวดเนื่องจากแมลงกัดต่อยเป็นต้น, ยาหม่อง ก็เรียก.

ยื้อ

หมายถึงก. แย่งด้วยอาการเช่นฉุด ยุด ดึงไปมา เช่น ยื้อข้อมือ, มักใช้เข้าคู่กับคำ แย่ง เป็น ยื้อแย่ง เช่น หมายื้อแย่งกระดูกกัน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ